Eleader May 2015
Digital Economy จะทำให้ประเทศมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันในอนาคตไม่ใช่แค่เรื่องของแรงงานที่ถูก หรือสินค้าที่ถูกอีกต่อไป แต่นวัตกรรมใหม่ๆ จะทำให้ประเทศมีความแตกต่างและโดดเด่นที่จะสู้หรือแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ซึ่งการนำ ICT มาใช้จะสามารถสร้างความแตกต่างทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์ การบริการ และ Time to Market”
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีนของซิสโก้ เปิดเผยว่า กระแสหรือเทรนด์ของโลกกำลังก้าวไปสู่เรื่องของ Digitization ซึ่งจะมีการนำระบบดิจิตอลไปใช้ในการให้บริการเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก และ Digital Economy ก็จะเป็นตัวช่วยประเทศไทยได้ในหลายมิติ Digital Economy ในวันนี้แตกต่างจากที่ผ่านมา และไอซีที (ICT) จะเป็นเครื่องมือในการทำให้ Digital Economy เกิดขึ้น
ทั้งนี้มีการคาดการณ์ โดย Gartner ว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรหรือของบริษัทต้องเป็นดิจิตอลภายในปี 2020 เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ดังนั้นการให้บริการของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนต้องเริ่มทรานส์ฟอร์มสู่การเป็น “องค์กรดิจิตอล” มากขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานนั้นๆ จะต้องมีเพียงเว็บไซต์เท่านั้น แต่ยังต้องครอบคลุมการปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโมบายล์ คลาวด์ และบิ๊กดาต้า เพื่อนำมาตอบโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Private Partnership และ Public Partnership จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่โลกเข้าสู่ยุค Digitization การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจะกว้างขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นแต่ละกระทรวงและหน่วยงานต้องเตรียมพร้อมขยายขีดความสามารถในการให้บริการ หรือที่เรียกว่า scalability ให้มากขึ้น ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงประเทศไทย แต่รวมถึงระดับภูมิภาคและระดับโลก และแนวโน้มทิศทางของโลกที่กำลังจะไป
การผลักดันให้ Digital Economy เกิดขึ้นได้จริง ต้องอาศัย “เครื่องมือ” ที่จะทำให้ Digital Economy เกิดขึ้นได้ ซึ่งไอซีทีจะเป็นเครื่องมือหลัก และเป็นเครื่องมือสำคัญ รวมถึงเรื่องของกระบวนการหรือแนวทาง (Process), นโยบาย (Policy) และด้านการบริหาร และ governance ซึ่งต้องปรับเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจึงจะทำให้แนวนโยบาย Digital Economy เกิดขึ้นได้จริง ขณะเดียวกัน ปัจจุบันได้มีหลายองค์กรและสถาบันในอุตสาหกรรม ICT ต่างได้นำเสนอแผนงานและแนวทางต่างๆ แก่คณะทำงาน เพี่อเป็นต้นแบบของการผลักดันทิศทางของการพัฒนาสู่ Digital Economy ให้เกิดขึ้นและสำเร็จอย่างยั่งยืน
ประโยชน์และข้อดีของแนวนโยบาย Digital Economy มีผลต่อประเทศไทยในหลายด้าน ซิสโก้มีบทบาทในการให้ข้อมูลและให้ความรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการ Transformation ในธุรกิจต่างๆ ซึ่งซิสโก้ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในมิติใหม่ๆ ที่มากกว่าการที่เป็นคู่ค้าอย่างเดียว ทำให้ซิสโก้มีโอกาสตอบโจทย์ในเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของ Business Model การออกแบบ วางแผน นำเสนอแผนในการใช้ ICT เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การให้คำปรึกษากับภาครัฐและภาคเอกชน