Eleader May 2015

V_DTAC_Lars CEO

ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาลมุ่งผลักดัน “เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)” เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพด้านเศรษฐกิจของประเทศและเป็นรากฐานในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

ภารกิจหลักของรัฐบาล คือ การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลโดยมีเป้าหมายให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจมีความก้าวหน้า และสามารถแข่งขันได้ในโลกสมัย ใหม่ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสมัยใหม่เป็นพื้นฐานสาหรับธุรกรรมทางการเงิน ภาคธุรกิจการผลิต อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และภาคธุรกิจบริการอื่นๆ รวมทั้งภาคธุรกิจความคิดสร้างสรรค์

ขณะเดียวกันก็ปลดล็อคศักยภาพทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่โดยการให้เข้าถึง (Access) เชื่อมต่อ (Connectivity) และทำให้การบริการ หรือข้อมูลเป็นระบบดิจิตอล (Digitization) กระตุ้นให้ระบบนิเวศด้านนวัตกรรม มีพลวัตเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง กำหนดเป้าหมายให้คนไทยร้อยละ 80 มีการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน (ActiveInternetUsers)

ภายในปี พ.ศ.2560 การเชื่อมต่อแบบดิจิตอลนี้จะเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้มีการคิดค้นพัฒนาสินค้าบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างไม่มีข้อจำกัด นอกเหนือจากการนำบริการพื้นฐานไปสู่ในศูนย์กลางประชาชนในทุกภาค ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ห่างไกล

สำหรับดีแทค มองว่าการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เริ่มจาก ภาครัฐ ในช่วงเริ่มต้นควรนำโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล (MICT/MDE)(8) ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)(9) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NLA)(10) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (OCPB) เพื่อที่จะรวมโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม เพื่อสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงแห่งชาติที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นำระบบดิจิทัลมาให้บริการสาธารณะที่สำคัญ พร้อมทั้งสนับสนุนธุรกรรมการเงินผ่านมือถือ และบริการด้านการเกษตร สนับสนุนการศึกษาด้านไอซีที ให้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้บริการบนระบบอินเทอร์เน็ต

ด้านภาครัฐหน่วยงานกำกับดูแล (กสทช.) นอกจากการรักษาสถานภาพความเป็นองค์กรอิสระแล้วยังเห็นควรผลักดันให้เกิดการประมูล 4G (คลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz) ภายในปี 2558 สนับสนุนให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันในระดับอุตสาหกรรมอย่างครอบคลุมด้วยราคาที่ยุติธรรม สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และคุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างโครงข่าย ทั้งในระดับเนื้อหาและบริการ และส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน โดยกำหนดต้นทุนกำกับดูแลอย่างสมเหตุสมผล

สำหรับผู้ประกอบการเอกชน จะต้องลงทุนในโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีสินค้าและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ในราคาที่เหมาะสม เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต ดูแลลูกค้าโดยคำนึงถึงหลักคุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนความรู้ด้านดิจิทัลไปสู่สังคม