Digital Disruption

องค์กรธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมกำลังเผชิญผลกระทบจากพายุดิจิทัล (Digital Vortex) และผลกระทบจากการขยายตัวของเทคโนโลยี (Digital Disruption) ภายในปี 2560 และยังไม่มีทีท่าที่จะหยุดหยั่ง โดยตลอดช่วงเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา บริษัทกว่าครึ่งหนึ่งของโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงนี้ และได้กลายเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาสำคัญสูงสุดสำหรับผู้บริหารองค์กร

Digital Disruption

Digital Disruption ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว สร้างความกังวลใจให้กับบริษัทส่วนใหญ่ในปี 2558 และตอนนี้ได้เกิดผลกระทบต่อบริษัทครึ่งหนึ่งของโลก และได้กลายเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาสำคัญสูงสุดสำหรับผู้บริหารองค์กร

ล่าสุดทางซิสโก้ ได้เผยผลการวิจัยล่าสุดเผยให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าสถานะของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไปอย่างไรบ้างตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา โดยผลการศึกษาดังกล่าวจากศูนย์ปฏิรูปธุรกิจดิจิทัลทั่วโลก (Global Center for Digital Business Transformation หรือ DBT Center)

ภายใต้โครงการความร่วมมือของ IMD และซิสโก้ ได้มาจากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารหลายร้อยคน รวมถึงข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น ผู้ร่วมลงทุน (Venture Capitalist) ได้ลงทุนในธุรกิจใดบ้าง โดยผลการสำรวจ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมากในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบของพายุดิจิทัล หรือ “Digital Vortex”

และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีการพัฒนาไปสู่ “ศูนย์กลางดิจิทัล” ที่โมเดลธุรกิจและมูลค่าถูกแปลงเป็นดิจิทัลในขอบเขตที่กว้างที่สุด  พายุดิจิทัลนี้จะแยกแหล่งที่มาของมูลค่าทางกายภาพ และมูลค่าดิจิทัลออกจากกัน ก่อให้เกิด “องค์ประกอบ” ที่ผสานรวมเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และทำลายเส้นแบ่งระหว่างอุตสาหกรรมต่างๆ

ซึ่งอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางพายุดิจิทัล มากที่สุดจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด ขณะที่อุตสาหกรรมรอบนอกอาจได้รับผลกระทบอย่างฉับพลันในระดับที่น้อยกว่า แต่โดยรวมอุตสาหกรรมทั้งหมดได้เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น โดยศูนย์กลางที่ว่านี้เป็นจุดที่ความเร็ว

และขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูงสุด และไม่มีอุตสาหกรรมใดที่สามารถหลีกหนีกระแสของพายุดิจิทัลได้ อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งเชิงสัมพัทธ์ของบางอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไปจากการประเมินครั้งล่าสุดเมื่อปี 2558

Digital Vortex ในช่วงปี 2560 : การจัดอันดับของอุตสาหกรรม

Digital Disruption
ที่มา: Global Center for Digital Business Transformation, 2017

Digital Vortex ส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมในปี 2560

โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากสุดยังคงเหมือนกับเมื่อปี 2558 โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ สื่อและบันเทิง สินค้าและบริการด้านเทคโนโลยี ค้าปลีก บริการด้านการเงิน และโทรคมนาคม มีคุณสมบัติร่วมบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน ทำให้มีความไวต่อ Digital Disruption มากเป็นพิเศษ

ตัวอย่างเช่น สินค้าและบริการหลักในอุตสาหกรรมเหล่านี้ เช่น เพลง การสื่อสาร ซอฟต์แวร์ และเงิน สามารถแปลงเป็นดิจิทัลได้  ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ส่วนใหญ่จากโมเดลธุรกิจแบบที่ขายให้แก่ผู้บริโภค (Business-to-Consumer)

อันดับ 1 ในปี 2560 เป็นของธุรกิจสื่อและบันเทิง ซึ่งเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ โซเชียลมีเดีย ทีวี เพลง และภาพยนตร์ ระดับการแข่งขันระหว่างยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรม เช่น ผู้ผลิตคอนเทนต์ ค่ายเพลง สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายคอนเทนต์ และอื่นๆ ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ส่วนผู้เล่นรายใหม่อย่างเช่น Amazon และ Facebook รวมไปถึงยักษ์ใหญ่รายใหม่ๆ อย่างเช่น Netflix ก็ได้สร้างแรงกดดันเพิ่มเติมภายในอุตสาหกรรมเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสื่อและบันเทิงไม่ได้เผชิญปัญหาตามลำพัง เพราะการเปลี่ยนแปลงมีอัตรารวดเร็วในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เนื่องจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวดเร็วขึ้น การเกิดขึ้นของธุรกิจ Startup จำนวนมากที่มีเงินทุนแข็งแกร่ง และการเติบโตของธุรกิจยักษ์ใหญ่ของจีน เช่น Alibaba และ Tencent

ส่วนอุตสาหกรรมที่อยู่รอบนอกจุดศูนย์กลางของ พายุดิจิทัล ก็เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน เช่น ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนเข้าไปใกล้จุดศูนย์กลางมากขึ้น เพราะมีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดน้อยกว่า มีการใช้เครื่องมือด้านการตลาดดิจิทัลที่ก้าวล้ำ

ประกอบกับผู้ค้าปลีกออนไลน์ เช่น Amazon และ Alibaba มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น  ส่วนธุรกิจบริการระดับผู้เชี่ยวชาญเพิ่งเข้ามาในการจัดอันดับอุตสาหกรรมของเรา โดยอยู่ในอันดับที่ 8 และได้รับแรงกดดันจากหลายๆ ด้าน เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง บ็อตให้คำแนะนำที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificially Intelligence)

และไซต์ทำงานสำหรับระบบเศรษฐกิจที่ผู้ทำงานรับงานมาเป็นครั้งๆ (Gig Economy) เช่น UpWork, Freelancer และ Fiverr  อุตสาหกรรมเหล่านี้เริ่มที่จะรู้สึกถึง ผลกระทบของเทคโนโลยี อย่างเต็มที่ โดยปัจจุบัน อุตสาหกรรมแบบ B2B (Business-to-Business) ที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก อยู่ส่วนรอบนอกสุดของกระแสพายุดิจิทัล

โดยได้รับผลกระทบน้อยมากจากผลกระทบของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้อาจถูกดึงเข้าสู่ศูนย์กลางของกระแส พายุดิจิทัล อย่างรวดเร็ว  ตัวอย่างเช่น ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ที่ได้รับแรงกดดันมหาศาลจากเทคโนโลยีต่างๆ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ รถยนต์ไฟฟ้า

และบริษัทที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เช่น Amazon Logistics และ Uber  ส่วนธุรกิจการแพทย์ และพลังงานก็เผชิญกับแรงกดดันด้านการแข่งขันจากผู้เล่นรายใหม่ๆ เช่นกัน และเริ่มที่จะสนใจอย่างจริงจังเกี่ยวกับภัยคุกคามของผลกระทบของเทคโนโลยี โดยจะเห็นได้จากการลงทุนในเทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจทางด้านดิจิทัล

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ ผลกระทบของเทคโนโลยี ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่จับต้องไม่ได้ กล่าวคือ ราวครึ่งหนึ่งของผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ผลกระทบของเทคโนโลยี กำลังเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เปรียบเทียบกับตัวเลขเพียง 15% ในปี 2558

นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลยังได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2558 ประเด็นเรื่อง ผลกระทบของเทคโนโลยี 45 เปอร์เซ็นต์มองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญที่ควรได้รับความสนใจจากคณะกรรมการบริหารของบริษัทที่ตอบแบบสอบถาม แต่ในปี 2560 มีเพียง 17% ที่รู้สึกเช่นนั้น

ผลกระทบของเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นเมื่อไร?

 

Digital Disruption
2015 (2558) 15% เกิดขึ้นแล้ว 48% ภายใน 3 ปีข้างหน้า 37% มากกว่า 3 ปี / 2017 (2560) 49% เกิดขึ้นแล้ว 33% ภายใน 3 ปีข้างหน้า 18% มากกว่า 3 ปี

โดยผู้บริหารส่วนใหญ่เริ่มตระหนักถึงผลกระทบทั้งแง่บวก และแง่ลบของผลกระทบของเทคโนโลยี เพิ่มมากขึ้น โดยกว่า 30% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าผลกระทบของเทคโนโลยี จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่ออุตสาหกรรม ในทางตรงกันข้าม มีไม่ถึง 1% ที่รู้สึกเช่นนั้นในช่วงปี 2558

และผู้บริหารกว่า 3 ใน 4 คนมองว่าผลกระทบของเทคโนโลยีก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรม “อย่างมาก” หรือ “มากที่สุด” ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเพียงแค่ 2 ปี องค์กรต่างๆ มีความตื่นตัวมากขึ้นในการรับมือกับผลกระทบของเทคโนโลยี

ผลกระทบของเทคโนโลยีส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใดต่ออุตสาหกรรม

Digital Disruption

อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2558 ผู้บริหารเพียง 25% ระบุว่าองค์กรของตนตอบสนองต่อผลกระทบของเทคโนโลยี อย่างจริงจัง และตัวเลขนี้เพิ่มเป็น 31% ในปี 2560  อย่างไรก็ตาม 40% ยังคงรู้สึกว่าผู้บริหารองค์กรของตนไม่เข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามนี้ หรือตอบสนองอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งปรับปรุงดีขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปี 2558

ทัศนคติต่อผลกระทบของเทคโนโลยี

Digital Disruption

นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ผู้บริหารจะเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และมีการตอบสนองที่ดีขึ้น แต่ว่ายังมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่าง “การรับรู้ถึงความจำเป็นในการปฏิรูปองค์กร” กับ “การดำเนินการปฏิรูปสู่ธุรกิจดิจิทัลให้เป็นผลสำเร็จ (Digital Business Transformation)” อย่างแท้จริง