กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) รายงานความคืบหน้าผลการปราบปราบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ พร้อมประกาศเดินหน้ากวาดล้างการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายภายใต้ชื่อ “Crackdown 2.0” โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มช่องทางให้ความรู้แก่นักธุรกิจเรื่องความเสี่ยงจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและรวบรวมเบาะแสเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
บก.ปอศ. ใช้ประโยชน์ของโซเชียลมีเดียเพื่อรวบรวมเบาะแสโดยมุ่งเน้นไปยังองค์กรธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะเพิ่มการดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ราวร้อยละ 20 จากปี 2557 บก. ปอศ. กล่าวว่าจะรักษาอัตรานี้ไว้ไปให้ถึงปีหน้า
ความคืบหน้าสถานการณ์การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2558
เพื่อสนับสนุนภาระกิจของรัฐบาลเรื่องการสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนในประเทศไทย
บก.ปอศ. ภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังคงเดินหน้าปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างจริงจังในปี 2558 การปราบปรามของเจ้าหน้าที่ตำรวจภายใต้ชื่อ Crackdown 2.0 จะมุ่งเน้นไปยังองค์กรธุรกิจที่ต้องสงสัยว่าใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย และจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการรณรงค์ให้องค์กรธุรกิจเข้าใจถึงอันตรายที่เชื่อมโยงระหว่างซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิและอาชญากรรมไซเบอร์
ข้อมูลของ บก.ปอศ. ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกันยายน 2558 รายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจจำนวน 166 แห่ง เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 20 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว และมีมูลค่าของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์สูงราว 358 ล้านบาท
จนถึงขณะนี้ องค์กรธุกิจที่ถูกดำเนินคดีส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็นร้อยละ 34 ตามด้วยอุตสาหกรรมก่อสร้างและออกแบบร้อยละ 32 ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ประกอบไปด้วย ตัวแทนจำหน่ายและบริษัทค้าส่งร้อยละ 7 วิศวกรรมร้อยละ 7 อสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 4
ไอทีและโทรคมนาคมร้อยละ 2 และอื่นๆ ร้อยละ 14 ผู้ถือหุ้นในองค์กรธุรกิจที่ถูกดำเนินคดีแบ่งเป็นชาวไทยร้อยละ 83.15 เกาหลีใต้ร้อยละ 1.20 จีนร้อยละ 0.60 และบริษัทร่วมทุนร้อยละ 15.05
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ผ่านมา มุ่งเน้นไปยังองค์กรธุรกิจในภาคการผลิตและก่อสร้าง แต่ในปี 2558 การปราบปรามได้ขยายวงกว้างขึ้นโดยครอบคลุมองค์กรธุรกิจทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงขนาดของธุรกิจ การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังเป็นความพยายามที่จะจัดการกับความเชื่อมโยงกันระหว่างการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กับการจู่โจมของมัลแวร์และภัยไซเบอร์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก การใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับอนุญาตและถูกต้องตามกฎหมายเป็นการป้องกันภัยในขั้นแรกที่ดีและลดช่องโหว่ที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิละเมิดลิขสิทธิ์กำลังทำให้ข้อมูล รวมถึงข้อมูลทางการเงินขององค์กรตกอยู่ในความเสี่ยง จากรายงานของไอดีซี (IDC) พบว่าร้อยละ 70 ของซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมีมัลแวร์ฝั่งตัวอยู่ เป็นต้นหตุหนึ่งของการโจรกรรมในภาคการเงินและการธนาคาร การขโมยข้อมูล การโกงในการซื้อขายบนออนไลน์ และคดีอื่นๆ