อีเอสอาร์ไอ (ESRI) ใช้เทคโนโลยีจีไอเอสหนุนองค์กรท้องถิ่นสู่สมาร์ทซิตี้นำร่อง “นครนนท์ 4.0” บูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ในกลุ่มบริษัท ซีดีจี ผู้นำด้าน Location Intelligence และตัวแทนจำหน่าย ArcGIS เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศระดั
ชี้หัวใจของการบริหารจัดการเมื
ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี จีไอเอส ช่วยบูรณาการวิเคราะห์ข้อมู
ESRI เดินหน้าสร้างนำร่องสร้าง นครนนท์สมาร์ท ซิตี้
ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ประเทศไทยนอกจากการเปลี่ยนแปลงเมืองใหญ่ให้เป็นสมาร์ทซิตี้แล้ว การยกระดับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นสมาร์ทซิตี้ หรือ Smart Local Government (SLG) เป็นสิ่งที่ต้องผลักดันและให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน
ซึ่งหัวใจของการบริหารจัดการเมืองจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลแบบบูรณาการด้วยการนำข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือโลเคชั่นมาวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแผนที่ภาษี งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม งานแจ้งเหตุ งานประชาสัมพันธ์ งานสาธารณะ งานภัยพิบัติ งานวางแผนทางด้านอัคคีภัย
และงานสวัสดิการสังคม โดยประเทศไทยอาศัยการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นตัวกลางสำคัญในการดูแลประชาชน หากการบริหารส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่สามารถเพิ่มศักยภาพการทำงานได้กระชับ รวดเร็วยิ่งขึ้น ก็หมายถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งประเทศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ ในเมืองใหญ่หลายเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น นครลอสแอนเจลิส ได้ผันตัวเองมาเป็น สมาร์ทซิตี้ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการอยู่อาศัยของประชากรและการเติบโตของเมืองอย่างมีระบบ
ปัจจัยหลักที่ช่วยในการสร้างเมืองอัจฉริยะให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) การเปลี่ยนนครลอสแอนเจลิสเมืองให้เป็นสมาร์ทซิตี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรซึ่งมีอยู่มากถึง 3.8 ล้านคน และหน่วยงานบริหารมากกว่า 40 องค์กร
ทำให้เกิดปัญหาข้อมูลไม่เชื่อมต่อกัน ส่งผลให้การประสานงานระหว่างองค์กรติดขัด และการแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างล่าช้า จึงเป็นที่มาของการสร้าง “Los Angeles GeoHub” แพลตฟอร์มสาธารณะสำหรับการบริหารจัดการเมืองด้วยระบบ GIS
โดย “Los Angeles GeoHub” จะกลายเป็นต้นแบบของเมืองอื่น ๆ ด้วยการเก็บข้อมูลโลเคชั่น และข้อมูลเชิงพื้นที่จำนวนมหาศาลไว้ และพัฒนาต่อเนื่องจนกลายเป็นศูนย์กลางของระบบ Business Intelligence และยังช่วยให้พนักงานขององค์กรและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ หลังจากการเปิดใช้งานได้เพียง 3 เดือน สามารถแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยของระบบสาธารณะ และสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การสร้างแอพพลิเคชันให้ประชาชนในพื้นที่สามารถแจ้งปัญหาขยะ หรือถนนสกปรก
โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับแผนการทำความสะอาดถนนให้เหมาะสมตามสถานการณ์จริง ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้พัฒนาระบบแผนที่ภูมิศาสตร์เพื่อบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ ช่วยวิเคราะห์ และตัดสินใจแก้ไขปัญหาประชากร ให้กับเทศบาลนครนนทบุรี
ภายใต้ชื่อ “นครนนท์ 4.0” ซึ่งแบ่งโครงการจ้างเหมาการให้บริการประชาชนด้วยระบบภูมิสารสนเทศผ่านระบบอินเตอร์เน็ตออกเป็น 2 เฟส ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการเฟสแรกเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อใช้งานระบบ ควบคู่กับการเริ่มต้นเปิดให้บริการประชาชน
ซึ่งบริษัทได้นำซอฟต์แวร์ ArcGIS แพลตฟอร์ม มาใช้ในการบูรณาการของข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ด้วยการระบุพิกัด หรือโลเกชัน ที่ชัดเจน ซึ่งเฟสแรกได้พัฒนาระบบแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ ใช้กับงานบริการประชาชน 6 ด้าน อาทิ
- ระบบแจ้งปัญหาเรื่องร้องเรียน อาทิ ไฟดับ ไฟไหม้ อุบัติเหตุ
- ระบบงานติดตามโครงการ อาทิ สร้างถนน
- ระบบสวัสดิการและสังคม โดยเบื้องต้นจะใช้ดูแล และกำหนดสวัสดิการผู้สูงอายุ
- ระบบสาธารณสุข ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับโรงพยาบาล, อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และผู้นำชุมชน ในการดูแลให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยนอนติดเตียง
- ระบบงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ใช้แจ้งเหตุระบุตำแหน่ง หรือพิกัด พื้นที่ประสบภัย เพลิงไหม้ ตำแหน่งหัวจ่ายนํ้าดับเพลิง เพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ
โดยประชาชนสามารถใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเลต แจ้งเหตุร้องเรียนต่าง ๆ ผ่าน 6 แอพพลิเคชัน ซึ่งข้อมูลการแจ้งเหตุร้องเรียน จะถูกส่งต่อข้อมูลมาที่เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บัญชาการในการกระจายงานและติดตามผ่านจอแสดงผลแดชบอร์ด
ทั้งนี้เทศบาลนครนนทบุรี มีความต้องการเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมด ทั้งข้อมูลบริหารจัดการ และข้อมูลบริการประชาชน ไปสู่ดิจิทัล เพื่อยกระดับไปสู่เมืองสมาร์ทซิตี ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างหารือกับเทศบาลนครนนทบุรี เพื่อดำเนินการโครงการระยะ 2 ในต้นปีหน้า
โดยจะบูรณาการระบบเข้ากับงานด้านที่ดิน แผนที่ภาษี กิจการนักเรียน การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดเทศบาล งานด้านบริการประชาชน เช่น ตัดกิ่งไม้ หรือ ซ่อมถนน รวมถึงบริการด้านสาธารณสุข ที่เพิ่มงานด้านสุขาภิบาลเข้าไป เพื่อให้บริการที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองขนาดใหญ่หรือเมืองขนาดเล็ก การจะเป็น สมาร์ทซิตี้
หรือ สมาร์ท โลคอล รัฐบาลต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ผนวกกับการนำข้อมูลโลเคชั่น และข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ มาวิเคราะห์อย่างเชื่อมโยงเพื่อช่วยในการตัดสินใจ พัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนในชุมชน และประเทศในภาพรวม
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่