ร่วมกับ ETDA (เอ็ตด้า) ร่วมกับ บ.เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) และภาคีเครือข่าย จัดงานประชุมวิชาการ “1st Thailand Digital ID Symposium 2019” เสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทย แนะธุรกิจใช้ความสำเร็จนานาชาติ สร้าง ดิจิทัลไอดี ที่ไม่ซ้ำซ้อน สะดวก ปลอดภัย ใช้งานง่าย เร่งสปีดเศรษฐกิจไทยให้ทันโลก….
highlight
- เอ็ตด้า จัดงาน 1st Thailand Digital ID Symposium 2019 เร่งทำความเข้าใจให้แก่ภาคเอกชน เตรียมความพร้อมในการรับมือการเชื่อมโยง และยืนยันตัวบุคคลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมดึง กูรูจาก 4 ประเทศชั้นนำด้านการผลักดัน ดิจิทัล ไอดี อาทิ อินเดีย, สิงค์โปร, มาเลเซีย และเอสโตเนีย ร่วมแนะนำแนวทาง
- การเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัล ทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ มั่นคงปลอดภัย และผลักดันให้เกิดการสร้างรัฐบาลดิจิทัล ด้วยการใช้เทคโนโลยี Big Data Analytics, Government Data Center, Government Cloud Service
- เล็งจัดงานสัมมนาให้ความรู้ในเรื่องของ ดิจิทัล ไอดี ต่อเนื่อง และจะเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิธีการใช้งาน ให้แก่ภาครัฐ และภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อให้เกิดกระบวนการนำไปใช้งานจริงกับธุรกิจ
ETDA เร่งเครื่อง DIGITAL ID ออกโรงแนะภาคธุรกิจใช้กรณีศึกษาต่างชาติเร่งสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล
เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) และ บ.เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) และภาคีเครือข่าย ได้เดินหน้าจัดงานประชุมทางวิชาการเพื่อเร่งทำความเข้าใจให้แก่ภาคเอกชน เตรียมความพร้อมในการรับมือการเชื่อมโยง และยืนยันตัวบุคคลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ในงาน “1st Thailand Digital ID Symposium 2019″
โดยกูรูจาก 4 ประเทศชั้นนำ อาทิ อินเดีย, สิงค์โปร, มาเลเซีย และเอสโตเนีย ที่ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงการให้บริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงข้อมูลการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ทั้งในหน่วยงานรัฐ และเอกชน ไปสู่ความสะดวก และปลอดภัย มากขึ้น
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมและกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่เน้นการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานบริการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างทัดเทียม โดย ดิจิทัล ไอดี เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัล ทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความน่าเชื่อถือ เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน
ซึ่งเรื่องนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับหลายโครงการของรัฐที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กฎหมายดิจิทัล การวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับประเทศอื่นผ่านซับมาลีนเคเบิ้ล อินเทอร์เน็ตชุมชน (เน็ตประชาชารัฐ) ที่ช่วยโอกาสในการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต และเรื่องของการสร้าง สมาร์ทซิตี้ (Smart City) ที่เป็นเรื่องของการสร้างความสะดวกสบายในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น ท่องเที่ยว การค้า การแพทย์ ฯลฯ
โดยในเร็วๆ นี้จะมีการจัดประชุมเครือข่ายเมืองอัจฉริยะประจำปี (ASCN Annual Meeting) ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2562 ที่ หอประชุมจีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มีการพุดคุยโดยเฉพาะหัวข้อ Smart City Data Platform ขึ้น
นอกจากนี่ยังเป็นเป็นช่วยผลักดันให้เกิดการสร้างรัฐบาลดิจิทัล ด้วยการใช้เทคโนโลยี Big Data Analytics, Government Data Center, Government Cloud Service ซึ่งทั้งหมดจะช่วยทำให้เกิดบริการจากภาครัฐ (Government One Stop Service) ที่มีความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย จากการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน
ปัจจุบันรัฐบาลเดินหน้าผลักดันกฎหมายดิจิทัล หลายฉบับ ซึ่งหนึ่งในนั่นคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3และ 4) พ.ศ. 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น การมี ดิจิทัลไอดี หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่มีมาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมาย
ดิจิทัลไอดี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอุดช่องโหว่ของปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัล ทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ มั่นคงปลอดภัย
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเชื่อมต่อระบบกับนานาชาติในอนาคตได้ เพราะช่วยปลดล็อก และเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างปลอดภัยจะเป็นไปตามมาตราฐานสากล แน่นอนว่าวันนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องทำไม่ว่าจะเป็นการสร้างคน ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ ให้เข้าเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา แต่เมื่อถึงวันที่คนเข้าใจมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
เร่งสร้างความรู้ เพื่อสร้างโอกาสในโลกธุรกิจ
สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ และอีคอมเมิร์ซของประเทศ มีบทบาทหน้าที่ใน 2 เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการผลักดัน
คือการกำหนดมาตรฐาน คือ การกำกับดูแลผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และการให้บริการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3 และ 4) พ.ศ. 2562 และการผลักดันกฎหมายลูก ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562
โดยคาดว่าจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงต้นเดือน กรกฎาคม 2562 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะช่วยปลดล็อก และเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างเต็มกำลัง เพราะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัย
ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งาน และความเห็นของการใช้ ดิจิทัล ไอดี รวมถึงแนวทางการใช้ ดิจิทัล ไอดี ในอนาคต ในลักษณะ International symposium มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานทั้งใน และต่างประเทศ อาทิ อินเดีย, สิงค์โปร, มาเลเซีย และเอสโตเนีย
ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องของ ดิจิทัล ไอดี จากหลากหลายสาขา ที่ร่วมชี้ให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจ และสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้ต้องมีพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการ และธุรกรรมต่าง ๆ ทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย
โดยมีกฎหมายรองรับ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสร่วมกันในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Thailand เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย โดยเราเริ่มเห็นเรื่องของการใช้ eKYC และใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก ที่จะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนธุรกิจจนมาถึงเรื่องของการป้องกัน
ทั้งนี้การใช้ ดิจิทัลไอดี ทำให้เทคโนโลยีระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ (Public Key Cryptography หรือ PKI) หรือ เทคโนโลยีระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ สามารถตรวจสอบลายมือชื่อ กำลังถูกยกระดับเพื่อความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดย ASEAN กำลังขับเคลื่อน ASEAN Authentic เช่นกัน
ขณะที่ทั่วโลก องค์การสหประชาชาติ (UN) กำลังพยายามผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกัน ตรวจสอบได้ (Identity Management) และเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว โดยมีร่าง Draft แรกของ UN ออกมาแล้ว ซึ่งไทยได้ใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3และ4) พ.ศ.2562
โดยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัย ซึ่งจะช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย สร้างโอกาสให้เกิด Startup ใหม่ๆ มากขึ้น ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม จะมีผ่านการจัด Public Hearing ครั้งใหญ่
เพื่อที่จะได้นำเสนอ ดิจิทัล ไอดี ให้ทันในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2562 นี้ จากนั้นจะนำเรื่องเข้าสู่กฤษฎีกาภายใน 2 เดือนข้างหน้า คาดว่าน่าจะผลักดันพระราชกฤษฎีกาให้ออกโดยเร็วที่สุดในปลายปีนี้ ปัจจุบันเราเห็นเรื่องการใช้ระบบยืนยันตัวบุคคลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นในภาคของการเงินการธนาคาร
แต่จริง ๆ เรื่องนี่เกี่ยวข้องได้หลายส่วน ไม่ได้จำกัด แค่ภาคธนาคาร แต่ที่เห็นเริ่มที่ธนาคารเพราะเป็นเรื่องที่เริ่มต้นได้เลย เพราะธนาคารก็มีความพร้อม และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงิน และต้องการความปลอดภัยมากขึ้น โดยหากมองในการแง่ของการยืนยันตัวบุคคลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลในวันนี้อาจจำเป็นต้องใช้การพิสูจน์มากกว่า 1 อย่างขึ้นไป
และต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลที่ใช้ยืนยัน ในแต่ธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้เหมือนกัน ธุรกิจประกัน อาจจะไม่ต้องใช้การยืนยันข้อมูลตัวตนด้านสุขภาพ หากไม่เกี่ยวของกับส่วนที่โรคภัยที่เป็นโรคต้องห้ามในสัญญาประกัน
“ถึงเวลาแล้วที่ต้องร่วมกันผลักดันให้การใช้ดิจิทัลไอดีเพื่อเปลี่ยนโฉมหน้าการทำธุรกรรม และการใช้บริการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย”
การจัดงานประชุมระดับนานาชาติครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ภาคธุรกิจให้เห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องดิจิทัลไอดีร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่จะเปิดมุมมองให้ตระหนักถึงความจำเป็นของการมีดิจิทัลไอดี
ด้วยการเปลี่ยนเรียนรู้กับกูรูผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ผลักดันการใช้ดิจิทัลไอดี ไม่ว่าจะเป็น เอสโตเนีย อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และธนาคารโลกที่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากนี้ในงานยังมีการออกบูธโชว์นวัตกรรม แนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีในอนาคตจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนชั้นนำ อย่าง NDID, DataONE, NCB ฯลฯ
เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน และสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งหลังจากนี้ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA จะยังคงเดินหน้าจัดงานสัมมนาให้ความรู้ในเรื่องของ ดิจิทัล ไอดี ต่อเนื่อง และจะเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิธีการใช้งาน ให้แก่ภาครัฐ และภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อให้เกิดกระบวนการนำไปใช้งานจริงกับธุรกิจ
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่