จุดประกายปฏิวัติการศึกษาไทย กับงาน Education Disruption Conference and Hackathon 2018 ระดมสุดยอด องค์ความรู้ เพื่อให้สถาบันการศึกษาไทยปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง
Dtac Accelerate : Education Disruption
เพราะโลกเรากำลังเข้าสู่ยุค “ดิจิทัลเปลี่ยนโลกการศึกษา” อย่างเต็มตัว และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดที่กำลังจะถึงจุดหักศอก และกำลังนำมาซึ่งความท้าทายอย่างใหญ่หลวง
ในแง่ของการปรับตัวและการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้ทันกับโลก เพราะกว่า 47% ของการจ้างงานกำลังจะหายไป และ กว่า 90% ของตำแหน่งงานดั้งเดิมกำลังจะถูก Disrupt และถูกเปลี่ยนโฉมไปแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ภายใน ปี 2030
เรากำลังอยู่ในยุคที่มนุษย์ต้องปรับตัวแบบก้าวกระโดด และการจ้างงานแบบชั่วชีวิตไม่มีอีกต่อไป เหลือเพียงการเรียนรู้ และปรับตัวตลอดชีวิต (From Lifetime Employment to Life Time Employability) เราอยู่ในยุคที่ คนที่เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ (Learn, Unlearn, Relearn)
และสามารถปรับตัวเข้ากับยุคใหม่ได้ ก็จะกลายเป็น Digital Talent ซึ่ง Talent แต่ละคน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่องค์กรและประเทศชาติได้ ในระดับหลายพันล้านบาทต่อคน เราอยู่ในยุคที่การศึกษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ตอบโจทย์การอยู่รอดในโลกยุคใหม่อีกต่อไป
และในขณะที่ทั่วโลกกำลังมีการปฏิวัติการศึกษากันอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็น Computer Science for All ที่ต้องการให้เด็กทุกคนมีความเข้าใจทางด้าน Computer Science และการเขียนโปรแกรม หรือการเน้นการศึกษาทางด้าน STEAM – Science, Technology, Engineering, Art, and Mathematics
และสอนกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ (Systematics Thinking) และเป็น Project-Based, Play-Based Learning ที่มาปฏิวัติระบบการศึกษาดั้งเดิม จากแบบที่เป็นท่อ ทุกคนเข้า-ออกทางเดียวกัน และขยับเลื่อนชั้นพร้อมๆ กัน เปลี่ยนไปเป็นการศึกษาที่แตกแขนงกิ่งก้านไปตามเส้นทางความถนัด
และเป้าหมายการเรียนรู้ของแต่ละคน (From Pipe to Personalized Learning Pathway) โดยนวัตกรรมทางการศึกษาหลาย ๆ อย่างนั้นก่อกำเนิดมาจาก EdTech Startup ซึ่งในต่างประเทศสามารถระดมทุนรวมกันได้ถึง 3.4 พันล้านเหรียญ ในขณะที่ EdTech Startup ไทยระดมทุนได้เพียงไม่กี่สิบล้านบาทเท่านั้น
และการศึกษาไทยโดยรวม มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก จากผลคะแนน Pisa ล่าสุด ที่กว่า 50% ของเด็กไทย สอบตกด้านการอ่าน เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจ กว่า 53.8% สอบตกด้านคณิตศาสตร์ และ 46.7% สอบตกด้านวิทยาศาสตร์ เพราะไม่สามารถเข้าใจ
และนำไปประยุกต์ใช้ได้ ทั้งที่ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นหัวใจพื้นฐานของการเรียนรู้ในยุคนี้ และเราอาจเหลือเวลาเพียงไม่กี่ปี ในการปฏิรูปการศึกษาไทยให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
ดังนั้นเพื่อช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกับวงการการศึกษาไทย Disrupt KBank และ TCP จึงประกาศเป็นเจ้าภาพจัดงาน ประชุมนานาชาติสุดยิ่งใหญ่ งาน “Education Disruption Conference and Hackathon 2018”
โดยร่วมกับ TDRI, dtac, PTT และ Areeya Property เพื่อ นำวิทยากรระดับโลก และระดับประเทศ มาแชร์ Paradigm ความคิด นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการศึกษาระดับโลกสู่เมืองไทย โดยมี speaker ระดับโลกอย่าง Michael Staton หนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกด้านการศึกษา
และผู้จัดการกองทุน Learn Capital กองทุน VC เบอร์ 1 ของโลกที่ลงทุนกับ EdTech Startups ด้วยเงินลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท ที่จะมาแชร์ในหัวข้อ “Future of Education” การศึกษาแห่งโลกอนาคตและการปฎิวัติการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ในโลกยุคที่ดิจิทัลเปลี่ยนโลกการศึกษา
นักพัฒนา และเอกชน ร่วมจับมือยกระดับการศึกษา
กระทิง พูนผล Founder ของ Disrupt กล่าวว่า ประเทศไทยต้องการการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาแบบก้าวกระโดดเพื่อให้ปรับตัวทันยุค Digital Disruption และก้าวพ้น กับดักรายได้ปานกลาง งาน conference และ Hackathon ครั้งนี้จะนำเอาแนวคิดใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ
และนวัตกรรมใหม่ๆ และ EdTech startups ใหม่ๆมาร่วมจุดประกายการเปลี่ยนแปลง การศึกษาเหมือนที่ Disrupt เป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่วงการ startups ตั้งแต่ 2012
ด้าน ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีความใส่ใจในการศึกษาและการเข้าไปมีบทบาทในการสร้าง talents ให้กับประเทศ มานาน ไม่ว่าจะเป็นโครงการล่าสุดที่ธนาคารกสิกรไทย เข้าไปร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสร้าง CU Innovation District
หรือการ re-skill พนักงานของ ธนาคารเองให้ปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ธนาคารกสิกรไทยจึงมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมในการจัดงาน conference ครั้งนี้
ขณะที่ สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า ในยุคที่ทุกอย่างในโลกกำลังถูก Disrupt ทุกคนต้องปรับตัว และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลัง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การศึกษาถือเป็นรากฐานที่จะเตรียมคนรุ่นใหม่ของไทยให้พร้อมเป็นพลังที่จะขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน
ด้วยวิสัยทัศน์ของกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิต และ ผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มชั้นนำ อาทิ กระทิงแดง เรดดี้ สปอนเซอร์ แมนซั่ม และขนมขบเคี้ยวซันสแนค และในฐานะคนไทยที่เป็นเจ้าของแบรนด์ระดับโลก การเป็นเจ้าภาพร่วมกับธนาคารกสิกรไทย
ในการจัดงานครั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP มุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วม เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษา อย่างเป็นรูปธรรม เพราะการศึกษาที่เท่าทันโลกเท่านั้น จึงจะสร้างคนที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในยุค Disruptive World นี้
ด้าน สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ ดีแทค แอคเซอเลอเรท กล่าวว่า งาน conference ระดับนานาชาตินี้ยังต่อเนื่องด้วยการจัดงาน EdTech Hackathon 2 วัน เพื่อสร้างนวัตกรรมผ่านทาง EdTech Startups อย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อเปิดโอกาสให้สตาร์ตอัพที่สนใจจะสร้างนวัตกรรมทางด้านการศึกษาของไทยให้หลากหลายมากขึ้น พร้อมด้วยรางวัลมากมาย โดยทีมที่มีผลงานชนะเลิศจะได้รับสิทธิพิเศษเข้าร่วม Fast Track ของโครงการ dtac accelerate batch 6 ที่จะเริ่มเปิดโครงการในวันที่ 7 มีนาคม นี้
พร้อมทั้งการได้สิทธิการ mentor อย่างใกล้ชิดและการพิจารณาการร่วมทุนจาก 500 TukTuks โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทางดีแทค แอคเซอเลอเรท เองก็ได้สนับสนุนและร่วมลงทุนในสตาร์ตอัพทางด้านการศึกษาหรือที่เราเรียกว่า EdTech Startup อยู่หลายบริษัทด้วยกันไม่ว่าจะเป็น Globlish และ Senseino ที่ใช้เทคโนโลยี
สร้าง แพลตฟอร์มให้คนไทยได้เข้าถึงการเรียนรู้ภาษาอื่นๆได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เด็กไทยสามารถเข้าใจและเรียนรู้ภาษาอื่นได้เร็วขึ้น ดีขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการร่วมสนับสนุนการจัดงาน Education Disruption Conference and Hackathon 2018 ครั้งนี้
จะเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ EdTechสตาร์ตอัพ เข้ามาช่วยกันพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ให้มีหลากหลายมิติสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้มากยิ่งขึ้น
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.disruptignite.com/conference หรือลงทะเบียนได้ที่ http://www.eventinsight.co/mobile/registration/create/edc/
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่