Huawei

Huawei จัดสัมมนาระบบนิเวศบริการสำหรับกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2018 ชูแนวคิด Leading Service Ecosystem, Accelerate Digital Transformation

Huawei Southern East Asia Enterprise Service Ecosystem Summit 2018

สำหรับงานสัมมนาในครั้งนี้จัดโดยกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอรไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของหัวเว่ย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ หัวเว่ย Certified Internetwork Expert (HCIE) ซึ่งเป็นการรับรองคุณวุฒิด้านอาชีพของหัวเว่ย และส่งเสริมให้วิศวกรจากองค์กรคู่ค้าและลูกค้าของหัวเว่ยได้เข้าร่วมโครงการกันมากยิ่งขึ้น

โดยภายในงาน มีผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในวงการมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในแวดวงไอซีทีอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งในส่วนของระบบและรูปแบบธุรกิจ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เผยกลยุทธ์ความร่วมมือด้านบริการ และแพลตฟอร์มสนับสนุนระดับโลกให้บริษัทคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ได้รับทราบ ตลอดจนแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับคู่ค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ ในปัจจุบัน หัวเว่ยได้สนับสนุนคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 1,000 ราย โดยในจำนวนนี้มี 400 รายอยู่ในประเทศไทย

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และอนาคตก็กำลังพัฒนาไปสู่สังคมดิจิทัลที่มีความเป็นอัจฉริยะในหลายภาคส่วน” 

 Huawei

มร. วิลเลียม หวัง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด กล่าวว่า การใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้ง, บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) ที่เพิ่มมากขึ้น จะพลิกโฉมระบบไอซีทีและรูปแบบธุรกิจในองค์กรต่างๆ

หัวเว่ยจึงได้กำหนดบทบาทของตัวเองให้เป็นเสมือนผู้ผลักดันกลไกขับเคลื่อนและเป็นพันธมิตรหลักในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางธุรกิจให้กับลูกค้า และด้วยเหตุนี้ การปรับเปลี่ยนทางด้านไอซีทีขององค์กรจึงเป็นเรื่องจำเป็น

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้วางกลยุทธ์เชิงซ้อน ที่เรียกว่า “Platform + Ecosystem” ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลและนำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ โดยหัวเว่ยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรตามกลยุทธ์นี้ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น และมีความปลอดภัย

หัวเว่ยมีเจตจำนงค์อันแน่วแน่ที่ต้องการบ่มเพาะและสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ด้วยการผนึกความร่วมมือในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างชุมชนโอเพ่นซอร์สและแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนา

โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตออกไปในวงกว้างและสร้างชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน เพื่อเติบโตไปด้วยกันและต่อยอดสู่สิ่งใหม่ๆ และเพื่อให้เพื่อบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เน้นให้ความสำคัญกับห้าอุตสาหกรรมหลัก

นั่นคือ ความปลอดภัยสาธารณะ การขนส่ง พลังงาน การเงิน และภาคการผลิต รวมถึงดำเนินงานใน 3 จุดควบคุมหลัก คือ เทคโนโลยีขั้นสูง แพลตฟอร์มและเครือข่ายระบบนิเวศชั้นนำ เพื่อฝึกฝนผู้มีความสามารถในแวดวงและเพิ่มพูนศักยภาพการให้บริการแก่ลูกค้ารายหลัก

 Huawei

ระบบนิเวศด้านบริการของหัวเว่ย ประกอบด้วยสี่ส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้

หัวเว่ย Certified Service Partners (CSPs) จากข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2560 หัวเว่ยมีพันธมิตรผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติกว่า 2,900 รายทั่วโลก ในจำนวนนี้กว่า 160 ราย

อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในขณะนี้มีพันธมิตรผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติ (Certified Service Partners) ระดับ 4 ดาว และ 5ดาว กว่า 70 ราย

หัวเว่ย Service Platform ในปี 2560 สมาคมผู้สนับสนุนการบริการทางเทคโนโลยี (Technology Services Industry Association) ได้เปิดตัวโครงการรับรองคุณสมบัติความเป็นเลิศสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน (Support Staff Excellence Certification) 

ซึ่งโครงการนี้มีศูนย์บริการระดับโลก (Global Services Centers: GSCs) ที่ได้รับการรับรองแล้วทั้งสิ้น 3 แห่ง และศูนย์ช่วยเหลือด้านเทคนิค (Technical Assistance Centers: TAC) 12 แห่ง ซึ่งสมาคมวิชาชีพด้านบริการสนับสนุน (Association of Support Professional) 

ได้จัดอันดับให้พอร์ทัลการสนับสนุนทางเทคนิคของหัวเว่ยติดอันดับ 1 ใน 10 ของเว็บไซต์ด้านการสนับสนุนทางเทคนิคระดับโลก นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมร่วม 36 แห่ง และ OpenLab อีก 9 แห่งทั่วโลก เพื่อพัฒนาโซลูชั่นและบริการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรของหัวเว่ย

หัวเว่ย Authorized Learning Partners (HALP) เป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติและวิศวกรในองค์กรคู่ค้าของหัวเว่ย ปัจจุบัน หัวเว่ยมีพันธมิตรที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมกว่า 100 รายและมีผู้ดำเนินการฝึกอบรมกว่า 200 รายทั่วโลก

สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพันธมิตรที่ผ่านการอบรมในโครงการนี้ทั้งสิ้น 4 ราย ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับวิศวกรในองค์กรคู่ค้าของหัวเว่ยไปแล้วกว่า 1,800 ราย

หัวเว่ยICT Academy จากข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2560 หัวเว่ยได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านไอซีทีกว่า 300 แห่งทั่วโลก และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวเว่ยได้พัฒนาโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

โดยได้เปิดตัวโครงการ หัวเว่ย Authorized Information and Network Academy” (HAINA) ขึ้นมา และมีจำนวนนิสิตนักศึกษากว่า 100 คนที่ผ่านการอบรมและ ผ่านการรับรองจากโครงการดังกล่าว ซึ่งในประเทศไทยได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายน 2559 ที่ผ่านมา

หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถให้มากยิ่งขึ้น และขยายขอบเขตเครือข่ายผู้มีความสามารถด้านไอซีทีให้กว้างไกลออกไปเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่กำลังจะมาถึง พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมและรับรองคุณสมบัติด้านเทคโนโลยี AI, บิ๊กดาต้า, คลาวด์คอมพิวติ้ง และ IoT

ตลอดจนรับรองคุณสมบัติด้านเมืองปลอดภัย การเงิน และอุตสาหกรรมไอซีที เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับวิศวกรด้านเทคนิคในระบบเดิมให้พร้อมก้าวไปเป็นผู้เชี่ยวชาญขั้นสูงของอุตสาหกรรม

 Huawei
Mr. William Wang, Head of Enterprise Business Group, Huawei Southeast Asia

ทั้งนี้ หัวเว่ย ICT Academy และ หัวเว่ย Authorized Learning Partners (HALP) ได้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติจากหัวเว่ยไปแล้วกว่า 70,000ราย และมีวิศวกรด้านไอซีทีกว่า 5,000 ราย ผ่านการรับรองในโครงการ หัวเว่ย Certified Internetwork Experts (HCIE) 

โดยในจำนวนนี้มี 120 รายที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยหัวเว่ยตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2564 จะมีผู้ผ่านการอบรมในโครงการ HCIE กว่า 500 รายในภูมิภาคนี้

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่