Huawei

Huawei สนับสนุนการทดสอบ 5G เปิดกว้างความร่วมมือ ร่วมขับเคลื่อนไทยสู่ยุคดิจิทัลครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ EEC ต่อยอดสู่การทดสอบและการทดลองใช้งานในพื้นที่จริง…

highlight

  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีได้ลงนามความร่วมมือเรื่องการทดสอบเทคโนโลยี 5G กับ 40 พันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน ผลักดันให้เกิดการทดสอบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G (5G Use Case) อย่างเป็นรูปธรรม บนหลักการร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานในศูนย์ทดสอบ 5G พื้นที่ EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยพร้อมเปิดโอกาสให้พันธมิตรทุกรายสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐาน 5Gของหัวเว่ย ในการทดลองหรือทดสอบแอพพลิเคชันของตน หรือวิจัยและพัฒนาเพื่อค้นหาเทคโนโลยี 5G ที่เหมาะสมกับประเทศไทย

Huawei สนับสนุนการทดสอบ 5G ใน EEC

หัวเว่ย ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษาชั้นนำ พร้อมเดินหน้าการทดสอบเทคโนโลยี 5G (5G Testbed) สู่การใช้งานจริง  ในฐานะผู้จำหน่ายรายแรกและรายเดียวในปัจจุบันที่ได้นำระบบเครือข่าย 5G แบบครบวงจรมาติดตั้งในศูนย์ทดสอบ 5G (5G Testbed) พื้นที่ EEC

โดยทาง หัวเว่ย จะให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับใช้ทดสอบและทดลองการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในพื้นที่จริง รวมถึงต่อยอดการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาซึ่งความร่วมมือแบบเปิดกว้างครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยี 5G

Huawei

ทั้งในห้องทดสอบ (Indoor) และการทดสอบภาคสนาม (Outdoor) และนำการใช้งานใหม่ๆ มาให้บริการแก่ผู้บริโภคในส่วนต่างๆ ทั้งภาคการศึกษา ยานยนต์ การผลิตและอุตสาหกรรม การแพทย์ และอื่น ๆ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มหาศาลจากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย   

โดยเทคโนโลยี 5G นั้นมีข้อดีมากมาย รวมถึงการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ทรงพลัง เหมาะกับการใช้งานและสร้างสรรค์นวัตกรรมในทุกอุตสาหกรรม การทดสอบเทคโนโลยี 5G ครั้งแรกในประเทศไทยนี้จะสาธิตด้วยการถ่ายทอดสดในระบบวิดีโอแบบมัลติ-ยูเอชดี (Multi-UHD Video Live)

และเทคโนโลยี VR เสมือนจริงไร้สายแบบ 360 องศา (360 Wireless VR) เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของ 5G ที่ช่วยพัฒนาการใช้งานวิดีโอความละเอียดสูงแบบ UHD บนเครือข่ายที่มีแถบคลื่นความถี่สูง ความหน่วงต่ำและความน่าเชื่อถือสูง

ทำให้เกิดการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ สถาปัตยกรรมแบบใหม่ และมีเดียใหม่ๆ ได้ในอนาคต  นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม 5G ของหัวเว่ยยังเปิดให้พันธมิตรต่าง ๆ นำแอพพลิเคชั่นของตนเองเข้ามาร่วมทดสอบบนโครงสร้างพื้นฐานของหัวเว่ยด้วย

Huawei

มร. เติ้ง เฟิง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โครงการ 5G Testbed ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเร่งนำพาประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

การทดสอบเทคโนโลยี 5G ในครั้งนี้จะกระตุ้นให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมได้พัฒนาก้าวไปอีกขั้น เรามุ่งหวังและเปิดกว้างที่จะร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายและพันธมิตรจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมบริการใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับประเทศไทย และสร้างสรรค์ระบบอีโคซิสเต็มด้าน 5G ที่สมบูรณ์แข็งแกร่ง

ซึ่งตความร่วมมือกันจะทำให้เราสามารถนำเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุดมาสู่ประเทศไทยเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้งานเทคโนโลยี 5G และพลิกโฉมอุตสาหกรรม นำพาทุกคนไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสำหรับแพลตฟอร์มอุปกรณ์เครือข่าย 5G

ทั้งระบบประกอบด้วยสถานีฐาน 5G, อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย (Access Network), อุปกรณ์ทดสอบตัวอย่างการใช้งานและอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตั้งทดสอบในสถานที่จริง ซึ่งหัวเว่ยได้ลงทุนพัฒนาคิดเป็นมูลค่ารวม 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 160 ล้านบาท) สำหรับโครงการ 5G Testbed ที่ศรีราชา

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่