IBM ฉลองครบรอบ 65 ปีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ตอกย้ำความสำเร็จการนำเทคโนโลยีเข้าสนับสนุนภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจไทย ตลอดระยะเวลากว่าหกทศวรรษที่ผ่านมา ประกาศความพร้อมนำเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ และแพลตฟอร์มคลาวด์พาองค์กรไทยเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่สู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยี และธุรกิจ

พร้อมจับมือหน่วยงานภาครัฐ การเงิน ปิโตรเคมี โทรคมนาคม และการแพทย์ ปักธงสร้างนวัตกรรม สนับสนุนงานวิจัยพัฒนา ก้าวสู่มิติใหม่ ขานรับนโยบายประเทศไทย 4.0

IBM

65 ปี ความสำเร็จ IBM Thailand

 

พรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไอบีเอ็มมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้อยู่เคียงคู่ประเทศไทยมายาวนาน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จมากมายในโครงการสำคัญของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษา

ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดียิ่งขึ้นต่อวิถีชีวิตของคนไทยจำนวนมาก การเป็นบริษัทไอทีต่างชาติแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานสัญลักษณ์ตราครุฑในฐานะองค์กรที่ทำประโยชน์แก่สังคม นับเป็นเกียรติสูงสุดตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ 65 ปีที่ผ่านมา

ก้าวสู่มิติใหม่แห่งการนำนวัตกรรม

ตลอดระยะเวลา 65 ปี ไอบีเอ็มไม่เคยหยุดที่จะพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่ไอบีเอ็มได้ปรับองค์กรครั้งใหญ่ให้พร้อมพาธุรกิจก้าวสู่ยุคค็อกนิทิฟ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ไปสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยี

และธุรกิจที่เทคโนโลยีอย่างค็อกนิทิฟ คอมพิวติ้ง คลาวด์ และซิเคียวริตี้ รวมถึงแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ จะทวีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของปริมาณข้อมูล โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค

โดยในปี พ.ศ. 2560 ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ให้บริการโซลูชั่นส์ด้านค็อกนิทิฟและแพลตฟอร์มคลาวด์เต็มตัว พร้อมได้นำศักยภาพดังกล่าวเข้าสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ โดยมีความร่วมมือล่าสุดในการนำเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ

และแพลตฟอร์มคลาวด์เข้าเสริมศักยภาพภาครัฐ การเงิน การผลิต โทรคมนาคม และการแพทย์ สอดคล้องนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 อันประกอบด้วย โครงการ เทคโนโลยีคลาวด์สำหรับ Smart City Platform ของ CAT ซึ่งไอบีเอ็มได้รับความไว้วางใจในการเป็นพันธมิตรรายแรก

เพื่อเสริมศักยภาพการให้บริการด้านคลาวด์ Infrastructure as a Service ให้กับ CAT มายาวนาน และในวันนี้ได้พัฒนาความร่วมมือไปอีกขั้น ด้วยบริการ Cloud Managed Services ที่จะสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันให้ CAT ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง

ตลอดจนการขยายขีดความสามารถในการให้บริการ Smarter City Platform เพื่อช่วยเมืองมากมายในประเทศไทยยกระดับการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยภูเก็ตได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดแรกในการนำร่องโครงการนี้

และยังไอบีเอ็มได้เข้าสนับสนุนการปฏิรูปธุรกิจเชิงดิจิทัลของธนาคารไทย ธนาคารชั้นนำของไทย ด้วยการนำแนวคิด “อไจล์” (agile) และ “ดีไซน์ธิงค์กิง” (design thinking) มาใช้ในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปธุรกิจเชิงดิจิทัล (digital transformation)

เริ่มตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการและระบบบริหารจัดการเบื้องหลัง ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับงานบริการลูกค้าเพื่อให้ตอบโจทย์และความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าในยุคดิจิทัล โดยความร่วมมือที่ผ่านมาได้นำสู่การนำระบบ โรโบติกส์ พรอเซส ออโตเมชั่น (Robotic Process Automation หรือRPA) มาใช้

เพื่อลดระยะเวลาของกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมากและภาระงานที่ต้องทำซ้ำๆ โดยได้มีการนำร่องใช้ RPA กับ 30 กระบวนการทำงาน และคาดหวังที่จะขยายต่อไปเป็น 100 กระบวนการในเฟสต่อไป

ขณะในด้านอุตสาหกรรมพลังงาน ไอบีเอ็ม ได้นำเอาเทคโนโลยี เทคโนโลยีค็อกนิทิฟ ไอบีเอ็ม วัตสัน ไอโอที (IBM Watson IoT) ไปเสริมประสิทธิภาพระบบปฏิบัติการโรงแยกก๊าซของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตก๊าซ และน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เพื่อช่วยให้ ปตท. เพิ่มผลผลิต และเสริมศักยภาพระบบปฏิบัติการของโรงแยกก๊าซ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายมหาศาลที่เกิดจากการรีเซ็ทการทำงานของชุดอุปกรณ์ Gas Turbine หากเกิดเหตุหยุดทำงาน ซึ่งการใช้ระบบค็อกนิทิฟที่ผนวกความสามารถด้านแมชชีนเลิร์นนิ่งนี้ ช่วยให้ ปตท. สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกจากเซ็นเซอร์หลายร้อยตัวจากหลายระบบ

ร่วมกับข้อมูลประวัติจากระบบวัดประสิทธิภาพการทำงานและการบำรุงรักษา ซึ่งทั้งหมดผนวกรวมอยู่ใน ดาต้าเลค (Data Lake) เดียว และสร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรมข้อมูลแบบไฮบริด ช่วยให้ผู้บริหารตลอดจนวิศวกรของปตท. สามารถมองเห็นรูปแบบของตัวชี้วัดและความเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ

ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันไม่ว่าจะเป็นแรงสั่นสะเทือนผิดปกติ ความเร็วที่สูงขึ้นของ gas turbine หรือแรงดันการไหลของคอมเพรสเซอร์ เป็นต้น โดยระบบสามารถตรวจจับและคำนวณคาดการณ์ความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า พร้อมแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเกิดปัญหาความล้มเหลวของระบบขึ้น

โดยปัจจุบัน ปตท. ได้เริ่มใช้วัตสัน ไอโอที กับโรงแยกก๊าซระยอง และมีแผนขยายการใช้กับเครื่องจักรสำคัญทั้งหมดในโรงงานแยกก๊าซทั้ง 6 แห่งต่อไป

IBM

ขณะในส่วนของอุตสาหกรรม ทางด้านโทรคมนาคม ไอบีเอ็ม ได้ร่วมกับ บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย ร่วมกับไอบีเอ็มในการนำโซลูชั่นค็อกนิทิฟ ซิเคียวริตี้ โอเปอเรชั่น เซ็นเตอร์ (Cognitive Security Operations Center หรือ SOC) เข้ารับมือกับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ท่ามกลางการเกิดขึ้นของข้อมูลจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน

ซึ่งเทคโนโลยี SOC ไม่ได้จำกัดการปกป้องเฉพาะการเข้าถึงตัวข้อมูลเท่านั้น แต่ยังใช้ความสามารถในการเรียนรู้ของเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ ไอบีเอ็ม วัตสัน ในการวิเคราะห์บทความและบล็อกจากผู้เชี่ยวชาญด้านซิเคียวริตี้ ที่ถูกเขียนขึ้นใหม่กว่า 60,000 เรื่องในทุกเดือน

ร่วมกับข้อมูลภัยคุกคามมหาศาลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์และตรวจจับแพทเทิร์นการเกิดขึ้นของภัยคุกคามต่างๆ ที่มาจากเน็ตเวิร์ค เอ็นด์พอยท์ ผู้ใช้ ระบบคลาวด์ ฯลฯ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการแก้ไขหรือป้องกันให้แก่หน่วยงานดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น

ขณะที่ในด้านของการแพทย์ ไอบีเอ็มได้ร่วมกับ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้ริเริ่มโครงการวิจัยและเก็บข้อมูลด้านจีโนมเป็นที่แรกในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม และโรคที่เป็นปัญหาสำคัญอื่นๆ ของประเทศไทย โดยคาดหวังที่จะนำผลที่ได้ไปพัฒนาการวินิจฉัย

และการกำหนดแนวทางการรักษาโรคที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน อย่างไรก็ดี ด้วยปริมาณข้อมูลจีโนมของแต่ละบุคคลที่มีถึง 200 กิกะไบต์ การศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการประมวลผลขั้นสูง อย่างเช่นซูเปอร์คอมพิวเตอร์

โดยในปี พ.ศ. 2560 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เลือกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง IBM POWER8 for High Performance Computing ของไอบีเอ็มเพื่อเป็นระบบที่รองรับการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าว โดย IBM POWER8 ช่วยให้นักวิจัยของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สามารถจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาลได้เร็วกว่าเดิม 100 เท่า

ทำให้สามารถร่นระยะเวลาการวิจัยด้านจีโนม และช่วยให้นักวิจัยสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ไปต่อยอดเพื่อประโยชน์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยต่อไป

“โลกกำลังก้าวเข้าสู่บทใหม่ของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอีกครั้ง โดยถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันมากมาย การพัฒนาความเชี่ยวชาญและการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เน้นสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจอย่างต่อเนื่องของไอบีเอ็ม ทำให้เราพร้อมแล้วที่จะเดินเคียงข้างองค์กรไทยสู่โอกาสและความสำเร็จต่อไปในอนาคต”

ส่วนขยาย 

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่ได้มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่