อินเตอร์ลิงค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ Interlink เดินหน้าสานต่อโครงการ “สุดยอดฝีมือสายสัญญาณ” (Cabling Contest) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 หวังสร้างบุคลากรมืออาชีพป้อนตลาด ล่าสุดเยาวชนจากรั่ว SBAC สะพานใหม่ คว้าถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เตรียมติวเข้มก่อนส่งแข่งขันเวทีระดับโลก
Interlink Cabling Contest 2017
หลังจากขับเคี่ยวมาตลอดระยะเวลา 1 ปี และตระเวนจัดการแข่งขันในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศของ ล่าสุดก็ปิดฉากไปแล้วสำหรับการแข่งขันโครงการ “สุดยอดฝีมือสายสัญญาณ ปีที่ 5” หรือ (Cabling Contest 2017) ซึ่งทางบริษัทอินเตอร์ลิงค์ ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน โดยมีนักเรียนนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันทั่วประเทศเข้าร่วมชิงชัยกว่า 50 ราย
ซึ่งในการแข่งขันครั้งที่ 5 นี้ ได้เยาวชนจากรั่ววิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) สะพานใหม่ คว้าอันดับหนึ่ง และได้เงินรางวัลกว่า 1 แสนบาทพร้อมถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เตรียมติวเข้มก่อนส่งแข่งขันเวทีระดับโลกต่อไป
โดยงานนี้ทางผู้จัดโครงการได้รับเกียรติจาก คุณณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
และ คุณณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ผู้อำนวยการตลาดและสื่อสารองค์กร ร่วมแสดงความยินดี ไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2560 ณ ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก
ทักษะฝีมือสายสัญญาณคือทักษะที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุค ดิจิทัล อีโคโนมี
สมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการสุดยอดฝีมือสายสัญญาณ ปีที่ 5 หรือ (Cabling Contest 2017) นี้ทางบริษัทได้ดำเนินการจัดอย่างต่อเนื่อง โดนมุ่งหวังในการสร้างบุคลากรทางด้านการเข้าสายสัญญาณให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศในยุคที่ดิจิทัลขับเคลื่อนทุกสิ่ง
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางบริษัทฯได้พยายามพัฒนา และปรับปรุงรูปแบบ ของการแข่งขันให้มีความเข้มข้นมากขึ้นในทุกๆปี เนื่องจากในกสนแข่งขันระดับโลก ในเรื่องของทักษะการเข้าสายสัญญาณ มักจะมีความยากมากขึ้นทุกปี แม้ว่าเยาวชนของเพราะแม้ว่าเก่งขนาดไหน แต่เมื่อไปเจอกับคู่แข่งในระดับโลกก็บังมีจุดที่ต้องพัฒนา และปรับปรุงอยู่
ทั้งนี้หลังจากการแข่งขัน นักศึกษาที่ได้รับชนะในโครงการ จะเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานระดับอาเซียน (Asean Skills) และระดับโลก (World Skills) ในปี 2019 ต่อไป และหวังว่าเราจะสามารถก้าวไปคว้าเหรียญจากเวทีดังกล่าวได้ โดยในตั้งแต่ที่เราได้จัดมาเยาวชนของเราติดอันดับในการเข้าแข่งขันเวทีระดับโลกตลอด
แต่ที่ยังไม่สามารถคว้าชัยชนะได้เพราะยังขาดความพร้อมจากหลายๆส่วน เนื่องจากยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดที่มีการเรียนกรสอนในด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งที่ผ่านมาเราในฐานะผู้จัดจำหน่ายสายสัญญาณชั้นนำของประเทศ เป็นเพียงบริษัทฯ เดียวที่ได้เข้าสนับสนุนเรื่องของการพัฒนาทักษะฝีมือในด้านนี้ ทั้งในแง่ของการจัดการแข่งขัน และการเข้าสนับสนุนองค์ความรู้
ทั้งในกลุ่มของอาจารย์ที่อยู่ในตามมหาวิทยาลัยต่างๆ และเยาวชนที่สนใจ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในเวทีระดับโลกที่มีความพร้อมมากกว่า และมีการสนับสนุนจากหลายๆส่วน ทำให้มีความพร้อมเมื่อต้องเจอกับสถาการณ์ในการแข่งขันที่กดดันได้ แต่อย่างไรก็ดีในมุมกลับกันแม้ว่าเรายังไม่สามารถคว้าเหรียญจากเวทีระดับโลกมาได้ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
เพราะตลอดระยะเวลาที่เราทำโครงการนี้ เราได้สร้างการรับรู้ให้เห็นในวงกว้างขึ้น ว่าเร่ื่องของทักษะในการเข้าสายสัญญาณ นั้นสามารถเป็นอาชีพได้ และเป็นอาชีพที่ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องจากทุกอย่างในวันนี้นั้นเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีหมดแล้ว โดยในต่าประเทศนั้นอาชีพของบุคลากรด้านนี้มีรายได้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับแผนในอนาคตนั้นเราเตรียมที่จับมือร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการจัดตั้งสถาบันที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสายสัญญาณ เพื่อยกระดับให้เยาวชน และเหล่าผู้ที่สนใจมาเพิ่มพูนทักษะในด้านเทคโนโลยีสายสัญญาณ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาได้ดีขึ้นกว่าแค่เพียงรอการจัดการแข่งขันเท่านั้น
ซึ่งในรูปแบบที่จะเกิดขึ้นกับกระทรวงศึกษาน่าจะเป็นในรูปแบบของการจัดทำหลักสูตรร่วมกันกับสถาบันทางการศึกษาในชื่อหลักสูตร “Cabling Technology” โดยในเบื้องต้นเราได้มีการเซ็นสัญญา (MOU) แล้วกับ วิทยาลัยอาชีวะดอนเมือง ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยให้เกิดบุคลากรรุ่นใหม่ๆเพิ่มขึ้น ซึ่งในแต่ล่ะรุ่นจะรับ 20 คน และใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ต่อรุ่น
ด้าน ณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และสื่อสารองค์กร บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแข่งขันสุดยอดฝีมือสายสัญญาณ ปีที่ 5 นี้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องเข้คอร์สอบรมความรู้ความเกี่ยวกับเทคโนโลยีสายสัญญาณ และเก็บตัว เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันล่วงหน้า 1 วัน
โดยในรูปแบบของการแข่งขันนั้นจะมีทั้งในภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ เพื่อให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงที่ใกล้เคียงกับเวทีการแข่งขันในระดับโลก โดยในภาคปฏิบัตินั้นเยาวชนผู้เข้าแข่งขันจะต้องสามารถผ่านบททดสอบที่เราได้จัดเตรียมไว้โดยไม่แจ้งล่วงหน้า
ซึ่งในปีนี้เราได้กำหนดโจทย์ให้ผู้เข้าแข่งขัน 3 ทักษะด้วยกัน ได้แก่ การแข่งขันเข้าหัวต่อกับสายสัญญาณ UTP (LAN), การเข้าสายกล้องวงจรปิด (COAXIAL) และการเข้าสายไฟเบอร์ ออฟติก (FIBER OPTIC)
สำหรับผลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท ได้แก่ นายรัฐธรรมนูญ วรรณทอง จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) สะพานใหม่
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ นายธนากร ขวัญกุล จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ นายอนิรุธ หงส์ดวง จากวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร และรางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 10,000
นอกจากนี้หากเยาวชนผู้ที่ชนะในการแข่งขันในโครงการนี้ เมื่อเรียนจบ ทาง บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ยินดีที่จะรับเข้าทำงานที่บริษัทฯ อย่างไม่มีเงื่อนไข ถ้าหากสนใจ
ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันระดับโลก และการแข่งขันโครงการ “สุดยอดฝีมือสายสัญญาณ ปี 5 (Cabling Contest)” ได้ที่ www.cablingcontest.com
ข้อมูลเพิ่มเติม
โครงการ “สุดยอดฝีมือสายสัญญาณ” (Cabling Contest) โครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ ละสังคม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่