Smart City

ผู้ว่าฯ จ.ขอนแก่น ประกาศสานต่อความมุ่งมันในการสร้างเมืองอัจริยะ (Smart City) สู่การเป็น Smart Living ด้วย IoT, Cloud และ AI ตั้งเป้าก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล (Medical Hub) ที่ทันสมัยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน 10 ปี และก้าวสู่เมืองระดับโลก (Global City) ที่เพียบพร้อมด้วยโอกาสในการทำธุรกิจ

 Smart City

Khon Kaen Smart City ตั้งเป้า 10 ปี ก้าวสู่ Medical Hub

สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า โครงการเมืองอัจริยะของจังหวัด นั้นมีในหลายแง่มุมที่ต้องดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจะต้องครอบคลุมใน 6 ด้าน ประกอบด้วย ซึ่งประกอบ Smart Economy, Smart People, Smart Mobility, Smart Environment และSmart Government เพื่อให้สามารถก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

และทำให้เมืองขอนแก่นก้าวสู่การเมืองชั้นนำในระดับโลก (Global City) ได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และหน่วยงาานรัฐ ซึ่งตั้งแต่ที่ทางจังหวัด ได้รับการอนุมัติแผนพัฒนา สมาร์ท ซิติี้ ในระยะที่ 1 จาก คสช. ให้จัดตั้งบริษัทพัฒนาเมือง ก็ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาตามแผนในการพัฒนา

อย่างต่อเนื่อง โดยในแต่โครงการเป็นการดำเนินการที่เกิดขึ้นจากการทำประชารัฐ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และเนื่องจากจังหวัดของแก่นนั้นไม่ใช่เมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากเท่ากับ จังหวัดอื่นๆที่อยู่ในโครงการ เมื่องอัจริยะ ดังนั้นรูปแบบของการพัฒนาเมืองให้มีความสมาร์ท เราจึงมองไปในเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิต

ของประชากรของเมือง (Smart Living) เป็นอันดับแรก โดยประชาชนของเมือง จะต้องสามาถมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี IoT เทคโนโลยี Cloud หรือแม้แต่เทคโนโลยีที่กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมากอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ (Artificial Intelligence : AI)

โดยทางเมืองขอนแก่น และบริษัท ขอนแก่น พัฒนาเมือง ได้มีความเห็นร่วมกันว่าโครงการที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนได้นั้นคือเรื่องของ การเชื่อมโยงข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ร่วมไปถึงความพร้อมที่มี และสามารถเริ่มพัฒนาได้ทันที ด้วยเทคโนโลยีทั้ง 3 ที่เทคโนโลยีดังกล่าว

ซึ่งวันนี้ทาง จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มโครงการพัฒนาระบบขนส่ง โครงการพัฒนาระบบการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย และโครงการพัฒนายกระดับการรักษาทางการแพทย์ โดยพัฒนาระบบขนส่งทางเมืองได้พัฒนามานานแล้ว ขณะที่ในส่วนของโครงการพัฒนาระบบการป้องกันภัยของเมืองนั้นอยู่ในระหว่างการวางแผนการติดตั้งระบบ และจัดหาอุปกรณ์

 

Smart City

ดังนั้นในวันนี้เราจึงเดินหน้าพัฒนาในเรื่องของการรักษาทางการแพทย์ เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นมีความพร้อมในด้านของศุนย์รักษาพยาบาล อีกทั้งยังมีบุคลากรทางด้านการแพทย์ที่เก่งติดอันดับต้นๆของประเทศ โดยทางจังหวัดขอนแก่นได้ร่วมกับ รพ.ขอนแก่น รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง

และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิท้ล หรือดิป้า โดยได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT มาใช้กับรถขนส่งผู้ป่วย (Ambulance) และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งทาง ดิป้า เองก็ได้ลงมาช่วยสนับสนุน โดยได้ชักชวนนักพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยดูปัญหา และแนะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับในกระบวนการต่างๆ

ขณะที่แผนระยะถัดไปทางจังหวัดเตรียมร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อคัดเลือกครัวเรือนในเขตชุมชนเขตเทศบาลขอนแก่น เพื่อนำร่องในการติดตั้งอุปกรณ์ อาทิ กล้อง CCTV, Censor IOT เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยที่แพทย์จำเป็นต้องติดตามอาการจากที่บ้านของผู้ป่วย โดยจะเริ่มในกลุ่มของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น

อย่างไรก็ดีการพัฒนาในเรื่องของการแพทย์อัจริยะอาจจะต้องทำแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” เพราะต้องยอมรับว่าวันนี้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยียังคงกระจุกตัวอยู่ในบริเวณตัวเมืองชั้นในของจังหวัดเท่านั้น ในหลายพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น ยังมีปัญหาเรื่องของสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้อาจไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะมีโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่นเศรษฐกิจของประเทศ หรือ เน็ตประชารัฐ ขึ้นแต่ก็ไม่สามาถทำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นวันนี้ก็คงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมทั้ง 3 ราย (เอไอเอส, ดีแทค, ทรู) ในการเพิ่มความเร็วของสัญญาณ 3G และ 4G แทน

โดยในเบื้องต้นทางจังหวัดขอนแก่นได้ประสานเรื่องไปยัง กสทช. เพื่อให้ช่วยแจ้งกับทางผู้ให้บริการโครงข่ายทั้ง 3 ราย แล้ว และหวังว่าจะมีผลการตอบรับกลับมาในเร็ววัน เพื่อให้เรื่องของการขับเคลื่อนเมืองอัจริยะเกิดขึึ้นได้เร็วขึ้น

และเป็นไปตามความตั้งใจของการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล (Medical Hub) ที่ทันสมัยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใน 10 ปี อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ แต่เชื่อว่าโครงการนี้น่าจะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจนมากขึ้นภายใน 2 ปีหลังจากนี้

Smart City

ดีป้า พร้อมสนับสนุนขอนแก่นสู่เมืองแห่ง Smart Medical

มีธรรม ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิท้ล กล่าวเสริมว่า จังหวัดขอนแก่นและสำนักงาน DEPA เป็น center ในการวางแนวทางดำเนินงาน MEDICAL HUB หรือ road map ด้าน Health Care & Medical โดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนของประเทศ

โดยอยากให้มีการวาง Infrastructure เพื่อรองรับ Big Data และเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ในทุกมิติ ไปสู่ Data Analytic ให้เข้ากับการใช้บริการของประชาชนในทุกระดับ สะดวกทั้งแพทย์ สะดวกทั้งประชาชน เบื้องต้น โรงพยาบาลขอนแก่นได้เตรียมความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น

โดยทางจังหวัดขอนแก่นได้หารือกับ DEPA และ Start up ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนา Smart Ambulance ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาระบบไฟจราจรอัจฉริยะของจังหวัด ทำให้แพทย์จะสามารถช่วยชีวิตได้ระหว่างขนย้ายผู้ป่วยบนรถพยาบาลส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ช่วยฉุกเฉินขณะเดินทางได้

ซึ่งเดิมยังไม่มีระบบนี้ช่วยเหลือ ทั้งนี้ ในที่ประชุมทีมแพทย์และ DEPA ยังได้วางแผนการพัฒนา Smart Health Care & Medical ทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพก่อนป่วย ให้มีสุขภาพที่ดี และป่วยน้อยลง วางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการระหว่างเข้าพบแพทย์และระหว่างป่วยและระบบบริหารจัดการชีวิตหลังป่วย

ซึ่งเป็นภาพใหญ่ที่ต้องวาง road map ทั้งระบบ เพื่อให้สามารถติดต่อและเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความร่วมมือกับทุกโรงพยาบาลในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ระบบ รวมไปถึงร้านขายยา และประชาชนทั่วไป ซึ่งระบบดังกล่าวจะมี Start up เข้ามาช่วยพัฒนาระบบดังกล่าวให้สำเร็จมาร้อยเรียงกัน

โดยอาศัยมาตรการการส่งเสริมจาก DEPA และที่สำคัญจะต้องมีการวาง Infrastructure เพื่อรองรับ Big Data ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อสร้างเป็นเส้นทางให้ข้อมูลวิ่ง และเชื่อมโยงกันได้อย่างคล่องตัว ซึ่งเบื้องต้นมีเป้าหมายที่จะเริ่มทำ Big data ด้าน Smart Health Care & Medical

ก่อนจึงไปเชื่อมโยงข้อมูลกับ Smart City ในด้านอื่น ๆ ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย Smart Economy / Smart People / Smart Mobility / Smart Environment / Smart Government  DEPA จะสนับสนุนผ่านกองทุน เช่น กองทุนอินเตอร์เนชั่นแนลไซเซชัน กองทุนสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นลักษณะการลงเงินทุนร่วมกันในทุกมาตรการ สำหรับโครงการ Smart City ก็เช่นเดียวกัน

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ส่งเสริมผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งฝั่งดิจิทัล และผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้ได้มีตัวช่วยในการต่อยอดผลงานนวัตกรรมและการนำไปใช้ให้เมืองกลายเป็นเมืองอัจฉริยะตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

Smart City

ด้าน นพ.รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษและรองผู้อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุ และวิกฤตบำบัด
รพ.ขอนแก่น กล่าวถึง แนวทางพัฒนาไปสู่ Smart Ambulance และ Medical Hub ว่า ก่อนอื่นเราต้องดูปัญหา และอุปสรรค โดยคำนึงถึงผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตต้องได้รับคำสั่งการรักษาอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ แต่ละสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะที่แพทย์ผู้ชำนาญการมีจำนวนน้อย และกระจายตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เจ้าหน้าที่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาลต้องสื่อสารกับแพทย์ผู้ชำนาญผ่านระบบวิทยุสื่อสาร ซึ่งสื่อสารได้แค่เสียง แพทย์ไม่สามารถเห็นสัญญาณชีพ และสภาพผู้ป่วย การสั่งการรักษาเป็นไปด้วยความลำบาก

Smart City

เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถปิดช่องว่าง จากการปรับปรุงเครื่องมือแพทย์ให้เชื่อมต่อ Internet of Things หรือ IoT และสามารถส่งสัญญาณชีพผู้ป่วยมาทาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ต นำระบบการสื่อสารด้วยภาพและเสียง Video call เพื่อให้แพทย์ได้เห็นสภาพผู้ป่วยและสั่งการรักษาได้อย่างแม่นยำ

Smart City

และใช้ GPS Tracking เพื่อคาดการณ์เวลาที่รถพยาบาลจะมาถึง โดยระบบโครงข่ายการสื่อสารทางการแพทย์ผ่านทางระบบ Internet (Telemedicine) และเมื่อใช้ร่วมกับ App EMS 1669 ที่ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้คิดค้น และพัฒนาขึ้น ก็จะติดตามรถพยาบาลได้

และหากในอนาคตเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ผ่าน คลาวด์ ก็ทำให้สามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วยได้ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น เปรียบเสมือนว่าเป็นโรงพยาบาลเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการรักษาแบบไร้รอยต่อเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

Smart City

 

ด้าน กังวาน เหล่าวิโรจนกุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด กล่าวว่า ภารกิจของ KKTS
ในการพัฒนา Khon Kaen Smart City ทำการจัดระบบขนส่งสาธารณะ จัดทำ และบริหารโครงการระบบขนส่งในเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งจัดทำ และบริหารโครงการพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้องและต่อเนื่องกับระบบขนส่งให้เกิดรายได้เชิงพาณิชย์ ดูแลการดำเนินงานของคู่สัญญาต่าง ๆ และการเดินรถงานซ่อมบำรุง งานบริการ และงานพัฒนาเชิงพาณิชย์

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่