Microsoft สานต่อโครงการเพื่อครูไทยหัวใจไอทีทั่วประเทศเป็นปีที่ 15 โดยมีอาจารย์เข้าร่วมโครงการกว่า 1,000 คน ร่วมฝึกอบรมใช้เครื่องมือในการพัฒนาการสอน พร้อมกันนี้ยังถือโอกาสเปิดการแข่งขันทักษะด้านดิจิทัล ชิงถ้วยรางวัลกรมสมเด็จพระเทพฯ

highlight

  • โครงการเพื่อครูไทยหัวใจไอที ปี 15 มีอาจารย์ทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 1,000 คน เพื่อเข้าฝึกอบรมเพื่อสอนใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในชีวิตประจำวัน เพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับเยาวชนไทย
  • อาจารย์ผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันทั้ง ท่าน จะได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางไปแข่งขันในโครงการ Innovative Teachers Leadership Awards ระดับโลกที่มีชื่อว่า E2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

Microsoft สานต่อโครงการเพื่อครูไทยหัวใจไอที

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศรายชื่ออาจารย์ผู้ชนะจำนวน 5 ท่าน ของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในโครงการ Thailand Innovative Teachers Leadership Awards ประจำปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 ภายใต้แนวคิดการนำเครื่องมือของไมโครซอฟท์มาบูรณาการ

เพื่อบุกเบิกการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ โดยมีอาจารย์ทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 1,000 คน การแข่งขันดังกล่าว เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อร่วมผลักดันอาจารย์ชาวไทยผู้มีความรู้ความสามารถสู่การแข่งขันเวที Innovative Teachers Leadership Awards ระดับโลก

ที่มีชื่อว่า E2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 และในปี 2562 นั้นสังคมไทยกำลังปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ไมโครซอฟท์จึงมุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้แบบดิจิทัล ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานด้วยเทคโนโลยีแบบองค์รวม มุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ และนักเรียน

ซึ่งเป็นการบุกเบิกวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกวิชา ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยเป้าหมายในการสนับสนุนให้อาจารย์นำเครื่องมือต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในชีวิตประจำวัน เพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับเยาวชนไทย

ในเดือนตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวได้เปิดรับสมัครอาจารย์ผู้เข้าแข่งขัน จากระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงระดับอาชีวะศึกษา โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดกว่า 1,000 คน หลังจากนั้น ทางไมโครซอฟท์ได้นำเสนอการฝึกอบรมเพื่อสอนใช้เครื่องมือต่าง ๆ พร้อมมอบภารกิจผ่านช่องทางออนไลน์

เพื่อคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันในรอบต่อไป นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้จัดฝึกอบรมคอร์สการเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือของไมโครซอฟท์ขั้นพื้นฐานแก่บุคคลทั่วไป โดยได้รับการตอบรับจากผู้สมัครจำนวนกว่า 1,000 คน ซึ่งยังได้รับใบประกาศนียบัตรออนไลน์เป็นปีแรก หลังจากเรียนจบหลักสูตรอีกด้วย

Microsoft

ปวิช ใจชื่น ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนของไมโครซอฟท์ ผมขอขอบคุณทุกท่าน ทั้งพันธมิตร และอาจารย์ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ให้เกียรติมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขัน Thailand Innovative Teachers Leadership Awards ปีที่ 15 ในครั้งนี้

เรามีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับคุณครูชาวไทยทุกคน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของประเทศ พร้อมปั้นผู้ชนะจากโครงการเพื่อไปแข่งขันต่อในเวทีระดับโลก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะทำให้คุณครูได้นำทักษะไปต่อยอด และสร้างประโยชน์ให้กับลูกศิษย์ต่อไป

สำหรับโครงการ Thailand Innovative Teachers Leadership Awards ประจำปี พ.ศ. 2562  เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้รับเกียรติจาก สมเกียรติ สรรคพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดโครงการในปีนี้ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด หรือ ไอเน็กซ์ (Innovative Experiment Co., Ltd. หรือ INEX) หนึ่งในตัวแทนจำหน่าย micro:bit อย่างเป็นทางการในประเทศไทย

อาจารย์ผู้ชนะรางวัลชนะเลิศของโครงการทั้งหมด 5 ท่าน ซึ่งจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการคัดเลือกจากการแข่งขันที่เข้มข้นระหว่างผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวนทั้งหมด 14 ท่าน

โดยอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญที่ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา ทั้งนี้ ผลงานของอาจารย์ผู้ชนะเลิศทั้ง 5 ท่าน ซึ่งได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือของไมโครซอฟท์เพื่อบุกเบิกวิธีการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ประกอบด้วย

  • ผลงานการส่งเสริมเยาวชนยุค Gen Z ให้มีพัฒนาการการเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม ภาษา และการดูแลตนเอง
  • ผลงานการสนับสนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียน
  • ผลงานการส่งเสริมการเรียนรู้ในสาขาสะเต็มศึกษาและการสนับสนุนกรอบความคิดแบบเติบโต (growth mindset)
  • ผลงานการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรม (STEM education) เพื่อสร้างนักประดิษฐ์
  • ผลงานสนุกเล่นสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์รอบตัวด้วยไมน์คราฟท์ (Minecraft)

โดยนอกจากรางวัลชนะเลิศแล้ว ยังมีการมอบรางวัลตามหมวดหมู่ต่างๆ ซึ่งได้รับการตัดสินโดยรุ่นพี่ผู้ชนะจากโครงการ Thailand Innovative Teachers Leadership Awards อีกด้วย

Microsoft

ผู้ชนะร่วมแชร์ประสบการณ์ แนะมองที่ปัญหา แล้วหาทางออก

ภานุวัฒน์ เกียรตินฤมล หนึ่งในอาจารย์ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน จากโรงเรียนบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เจ้าของผลงานการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรม (STEM education) เพื่อสร้างนักประดิษฐ์ กล่าวว่า แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานของผมมาจากการที่ผมได้มองเห็นว่าเราสามารถนำ

เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มความสนุกในการเรียนของนักเรียน และยังช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดให้พวกเขาสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้สึกว่าการแข่งขัน Thailand Innovative Teachers Leadership Awards เป็นเวที

ที่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในวิธีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และมีขั้นตอนการแข่งขันที่เข้มข้น แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ได้รับมิตรภาพที่อบอุ่นจากผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ เพราะสุดท้ายแล้ว เราต่างก็เป็นครูที่มีจุดหมายร่วมกันในการพัฒนาเยาวชนเพื่อพัฒนาประเทศของเราต่อไป

ด้าน สาวกิติยา พรหมสอน หนึ่งในอาจารย์ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน จากโรงเรียนอนุบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เจ้าของผลงานการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมเยาวชนยุค Gen Z ให้มีพัฒนาการการเรียนรู้ 5 ด้าน กล่าวว่า ผลงานของที่ได้คิดขึ้นมีที่มาจากการสังเกตลักษณะของเด็กยุค Gen Z ว่าเป็นกลุ่มคนที่โตมากั

เทคโนโลยี แต่มีลักษณะใจร้อน ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่กล้าแสดงออก ซึ่งส่งผลให้การทำงานเป็นทีมไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้เรียนรู้ผ่าน Microsoft Teams ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากยิ่งขึ้น

สำหรับการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ เป็นการสมัครเข้าร่วมโครงการ Thailand Innovative Teachers Leadership Awards เป็นครั้งที่ 3 และรู้สึกดีใจมากที่ครั้งนี้มีโอกาสได้ทำตามความฝันจนได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งก็อยากจะขอเชิญชวนคุณครูท่านอื่น ๆ

ให้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวัยของเด็ก เพื่อให้นักเรียนหันมาสนใจ และมีความสุขในการเรียน ซึ่งจะช่วยส่งผลให้พวกเขามีผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้น

สำหรับอาจารย์ผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันทั้ง 5 ท่าน จะได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางไปแข่งขันในโครงการ Innovative Teachers Leadership Awards ระดับโลกที่มีชื่อว่า E2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่