เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยคำทำนายอนาคต 2018 ชี้การก้าวสู่ยุคถัดไป คือยุคของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์ และจักรกล (Next Era of Human-Machine Partnership) ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต และธุรกิจ
Next Era of Human-Machine Partnership
เป็นเวลาผ่านมานานนับหลายศตวรรษแล้วที่คนเราใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันกับเครื่องจักร แต่ในปี 2018 รูปแบบของการทำงานร่วมกันนี้จะถูกถักทอให้เข้ามาสู่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ที่มาพร้อมกับความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบของทุกสิ่งตั้งแต่วิถีของการดำเนินธุรกิจ การจัดลำดับความสำคัญที่มีต่อการรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงรูปแบบของการให้บริการด้านความบันเทิง
โดยจากรายงาน “ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และจักรกล” ที่ เดลล์ เทคโนโลยีส์ และสถาบันเพื่ออนาคต (Institute for the Future: IFTF) ได้มีการตีพิมพ์ไปเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
พบว่าบรรดาผู้นำของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ต่างร่วมกันแบ่งปันถึงผลกระทบของ AI, AR, IoT และ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่จะช่วยเปลี่ยนองค์กร รวมถึงการใช้ชีวิตของทุกคนไปสู่ดิจิทัลในปี 2018
ซึ่งเรากำลังก้าวเข้าสู่ ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกล และช่วงเวลาระหว่างปัจจุบัน และอนาคตในปี 2030 มนุษย์และเครื่องกลจะทำงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของเรา เป็นเวลานานนับหลายศตวรรษที่เราทำงานกับเครื่องจักรกล
แต่ ณ ปัจจุบัน เรากำลังจะก้าวเข้าสู่บทใหม่ของการทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์ ในรูปแบบที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นอย่างมหาศาล ให้ความเป็นหนึ่งเดียว และสร้างความเป็นไปได้มากขึ้นจากที่ผ่านมา
เทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่ต่างๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เทคโนโลยีการผสานสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน (Augmented Reality หรือ AR) เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR) ไปจนถึงความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT)
และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่สร้างความเป็นไปได้จากการพัฒนาก้าวไกลทั้งเรื่องซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ (analytics) ไปจนถึงพลังที่ใช้ในการประมวลผล เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งไปสู่ทิศทางดังที่กล่าวมา
หลักฐานยืนยันดูได้จากทั้งรถยนต์อัจฉริยะ (connected cars) บ้าน ธุรกิจและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ หรือแม้กระทั่งการที่เกษตรกรเปลี่ยนรูปแบบการจัดการพืชผลและการดูแลปศุสัตว์ เรามาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อ ในการพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้ากันอย่างมึนงงนี้
8 คำทำนาย ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
AI จะจัดการ “งานที่ใช้ความคิด” ได้อย่างรวดเร็ว
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า AI จะเปลี่ยนรูปแบบในการที่เราใช้เวลาไปกับข้อมูล ไม่ใช่แค่เพียงเก็บรักษาเท่านั้น ธุรกิจต่างๆ จะควบคุม AI ให้ “ทำงานที่ต้องใช้ความคิด” (thinking tasks) วิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อลดเวลาที่ต้องใช้ในการกำหนดขอบเขตด้านข้อมูล การถกประเด็น สำหรับการวางแผนสถานการณ์ในอนาคต (scenario planning)
และการทดสอบทุกนวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยี AI จะช่วยลดปัญหาคอขวดที่เป็นอุปสรรค และให้อิสระกับผู้คนเพื่อตัดสินใจได้มากขึ้นและเร็วขึ้น การมีข้อมูลความรู้จะช่วยให้แผนการหรือโครงการใหม่ๆ ไม่เกิดการติดขัด สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น
ที่จะกลายเป็นผู้นำวัตกรรมด้าน AI จะเริ่มมองเห็นตัวอย่างที่เป็นจริง จากการที่ประโยชน์ต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้ กลายเป็นความจริงสำหรับธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีนักทฤษฏีหลายรายระบุว่า AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานในส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้อาจก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งช่วยปลดปล่อยโอกาสใหม่ๆ ให้กับมนุษยชาติ
ยกตัวอย่าง การเกิดขึ้นของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในแขนงใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรม AI และปรับรูปแบบการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ หรือประสิทธิภาพการทำงานให้เป็นไปตามความต้องการ ทั้งนี้ ภูมิภาคนี้จะกลายเป็นแหล่งรวบรวมทักษะความสามารถเหล่านี้ โดย AI จะมีอิทธิพลเหนือทักษะต่างๆ สำหรับผู้มีความสามารถโดดเด่นในอนาคต
ซึ่งนักปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดตัวแปรว่าอะไรคือสิ่งที่ควรหรือไม่ควรถูกจัดหมวดหมู่ไว้ในด้านผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจ และตัดสินใจในด้านกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเมื่อทั้งหมดนี้เข้าที่เข้าทาง เทคโนโลยีจะสามารถชี้แนะโอกาสเชิงบวกในการดำเนินธุรกิจด้วยความเร็วสูงสุด
ดูได้จากตัวอย่างของการใช้ AI ในด้านการประมวลผลทางความคิดในธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ การเกษตรกรรม ไปจนถึงบริการด้านการเงิน ดังนั้น ความท้าทายจะตกอยู่กับองค์กรที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าในเชิงธุรกิจของเทคโนโลยีต่างๆ ด้าน AI รวมทั้งต้องมั่นใจได้ว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้อง และมีบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษอยู่ในมืออีกด้วย
การเพิ่มความฉลาด (IQ) ให้กับสรรพสิ่ง หรือ Things
ในปี 2018 เราจะมุ่งสู่การก้าวหน้าขนานใหญ่ในการฝัง (embed) สิ่งที่เป็นความฉลาด (intelligence) ไว้ในตัวเมือง องค์กรธุรกิจ บ้านเรือน และยานพาหหนะที่ยกระดับไปสู่ศักยภาพด้าน IoT ด้วยราคาของพลังการประมวลผลที่ลดลง พร้อมทั้งโหนดที่เชื่อมต่อกันที่ลดลงจนเกือบเป็น 0 เหรียญสหรัฐ
เราจะมีจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อนับ 100,000 ล้านชิ้นในไม่ช้า และจะขยับขึ้นเป็นล้านล้านชิ้น ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เอามารวมกัน พลังประมวลผลด้วยขุมพลังของ AI จะช่วยให้เครื่องกลควบคุมทรัพยากรทางกายภาพ รวมถึงทรัพยากรมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น เราจะพัฒนาไปสู่ “การเป็นผู้ควบคุมดิจิทัล”
สำหรับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบตัวเรา เทคโนโลยีจะทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของตัวเรา ทุกๆ สิ่งจะทำงานได้อย่างฉลาด และช่วยให้เราใช้ชีวิตได้สมาร์ทยิ่งขึ้น ซึ่งเรากำลังเห็นเรื่องที่กล่าวมานี้ในรถยนต์ ซึ่งจะจัดมาพร้อมเซนเซอร์ในระบบอัลตร้าโซนิก
เทคโนโลยีที่ใช้ลำแสงเป็นตัววัดระยะทางระหว่างยานพาหนะกับการจดจำท่าทาง (gesture recognition) และในที่สุด นวัตกรรมเหล่านี้จะทำให้การขับขี่อัตโนมัติกลายเป็นความจริงที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เราจะต้องทำความคุ้นเคยกับการใช้รถที่จะต้องจองเพื่อเข้าใช้บริการตามกิจวัตร
แจ้งอู่ว่าต้องทำอะไรบ้างและกำหนดตารางการอัพเดตซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง ซึ่งปัจจุบันในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับนวัตกรรม IoT และการติดตั้งใช้งาน มีการลงทุนเพิ่มขึ้น และปัจจัยสำคัญอย่างเช่น ความริเริ่มจากภาครัฐบาล และความก้าวหน้าของ 5G กำลังเป็นแรงขับเคลื่อน
เราจะหันมาสวมใส่ AR headsets
ไม่นานเกินรอ เส้นแบ่งระหว่าง ความเป็นจริงที่ “เป็นจริง” และ เทคโนโลยีที่จำลองภาพเสมือนจริง หรือ Augmented Reality จะเริ่มเลือนหายไป การนำ AR ไปใช้ในเชิงพาณิชย์เริ่มเด่นชัดขึ้น ตัวอย่างเช่น ทีมคนงานก่อสร้าง บรรดาสถาปนิก และวิศวกร กำลังนำ AR headsets มาใช้จำลองภาพในการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ
มาใช้ในความร่วมมือที่ต้องมีมุมมองเดียวกันในเรื่องของการพัฒนา และการฝึกอบรมแรงงานที่ต้องทำงานนั้นๆ ในเวลาที่ฝ่ายเทคนิคไม่สามารถไปดูด้วยตัวเองที่ไซต์งานในวันนั้นได้ ในการทำงาน AR จะนำผู้คนและมนุษย์มาอยู่รวมกัน ช่วยให้ผู้คนสื่อสารโต้ตอบกับข้อมูลในวิถีทางที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
โดยภูมิภาคนี้จะกลายเป็นโครงการวิจัย หรือ testbed สำหรับแอปพลิเคชันเหล่านี้ ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่การควบคุมนวัตกรรม AR และการนำมาใช้งาน
ความสัมพันธภาพกับลูกค้าที่ลึกซื้งยิ่งขึ้น
ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ผลสำรวจดัชนีเกี่ยวกับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ Dell Technologies’ Digital Transformation Index ชี้ให้เห็นว่า 52% ขององค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น คิดว่าตัวเองจะล้าสมัยภายใน 3-5 ปีข้างหน้า และ 83% รู้สึกว่าถูกคุกคามจากองค์กรสตาร์ทอัพ
สิ่งที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา ก็คือประสบการณ์ของลูกค้าต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด และภายในปีหน้า ด้วยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ ก็คือการเรียนรู้ของเครื่องจักรกล (ML – Machine Learning) และปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในระดับแถวหน้า จะช่วยให้องค์กรธุรกิจเข้าใจลูกค้ามากขึ้นและให้บริการได้ดียิ่งขึ้น ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ
หรือก่อนที่ลูกค้าจะต้องการ การบริการลูกค้าจะมุ่งที่การผสมผสานกันอย่างสมบูรณ์แบบระหว่างคนและเครื่องจักรกล ดังนั้นแทนที่จะยกเลิกการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าไปสู่ chatbots รุ่นแรก และกำหนดข้อความต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ทั้งมนุษย์ และเอเจ้นท์เสมือนจริงที่มีความฉลาดทำงานได้แบบอัตโนมัติ จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมเดียวกัน
ผู้บริโภคในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ต่างต้องการการติดต่อสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล และขับเคลื่อนด้วยโมบาย นอกจากนี้ ผู้บริโภคเหล่านี้ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อสื่อสารต่างๆ เช่นวิธีการจ่ายเงินที่เป็นทางเลือกใหม่ โดยในความเป็นจริง นวัตกรรมในการจ่ายเงินในระดับโลกส่วนใหญ่
และจะเกิดจากการผลักดันของผู้นำอุตสาหกรรมในภูมิภาค และความต้องการของผู้บริโภคก็จะมีความต้องการเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยในปี 2018 จะได้เห็นแบรนด์สินค้าต่างๆ ถูกกดดันให้ต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าเหล่านี้ให้ได้
ต่อไปการเช็คอคติ จะง่ายเสมือนการเช็คตัวสะกด
ภายในทศวรรษหน้า เทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น VR และ AI จะช่วยให้ผู้คนค้นพบและดำเนินการด้านข้อมูลโดยไม่มีอารมณ์หรืออคติจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะที่ช่วยให้เพิ่มอำนาจในการตัดสินมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม ในเวลาอีกไม่ช้านาน เราจะได้เห็นการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการกระบวนการจ้างและการโปรโมทคนเพื่อคัดกรองอคติอย่างมีสติ
และไม่มีสติ ในขณะเดียวกัน VR จะถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นโดยเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์เพื่อให้มั่นใจว่าจะมอบโอกาสเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนคุณงามความดีเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การใส่หน้ากากเพื่ออำพรางตัวตนจริงของพนักงานที่มุ่งหวังด้วย avatar
ซึ่งสุดท้ายแล้ว การนำเทคโนโลยีเกิดใหม่มาใช้ ก็จะทำให้ในวันหนึ่ง “การเช็คอคติ” กลายเป็นสารฆ่าเชื้อ หรือ sanitizer ที่ทำกันจนเป็นกิจวัตร เหมือนกับการ “เช็คตัวสะกด” แต่ให้ประโยชน์กับสังคมในวงกว้าง
สื่อและความบันเทิงจะกลายเป็นพื้นที่แห่งใหม่สำหรับ อีสปอร์ต
ภายในปี 2018 เราจะได้เห็นผู้เล่นจำนวนมากขึ้น ที่นั่งอยู่หลังจอคอมพ์ หรือใช่ VR headsets เพื่อต่อสู้ในจักรวาลที่สร้างขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในความละเอียดภาพสูง เนื่องจากมีผู้เล่นและผู้ชมจำนวนหลายร้อยล้านคนเข้ามามีส่วนร่วม จึงทำให้ อีสปอร์ต กลายเป็นกระแสหลักในที่สุด
ทั้งนี้ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กำลังเดินหน้าสู่การตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ พร้อมกับที่เรากำลังมุ่งไปสู่เอเชียนเกมในปี 2022 ซึ่งจะเป็นงานที่มีการชิงเหรียญทองสำหรับอีสปอร์ต ซึ่งปรากฏการณ์ของ อีสปอร์ต ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ขยายไปสู่วงกว้างมากขึ้น ถ้าจะให้กล่าวคือ กระทั่งกิจกรรมที่เป็นสาระสำคัญของ “มนุษย์” อย่างการเล่นกีฬา
ก็จะถูกแปลงไปสู่ดิจิทัล เทคโนโลยีเปิดกว้าง “การกีฬา” ในทุกประเภท คุณไม่จำเป็นต้องมีร่างกายที่กำยำ หรือสร้างมันขึ้น เพียงคุณมีการตอบโต้ทางสัมผัสที่รวดเร็ว และมีทักษะด้านเครื่องยนต์ คุณสามารถเล่นและคว้าชัยชนะได้ ทั้งนี้ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกจะเห็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ในเรื่องนี้
โดยประเทศจีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ กำลังมุ่งไปสู่งานอีเวนต์และการลงทุนในเรื่องนี้ สิงคโปร์ ก็กำลังมุ่งเน้นที่การสร้างมืออาชีพด้านอีสปอร์ตในประเทศ โดยมีสถาบันฝึกฝนเพื่อสร้างแชมเปี้ยนด้านอีสปอร์ตในอนาคต
นอกจากนี้ กีฬาแบบเดิมๆ อย่างเช่น การปั่นจักรยาน ยังยกระดับการแข่งขันด้วยการเก็บเกี่ยวข้อมูลเพื่อหาข้อได้เปรียบรวมถึงวิธีการพลิกโฉมการแข่งขัน ในอนาคตทุกองค์กรธุรกิจจะกลายเป็นองค์กรธุรกิจด้านเทคโนโลยี และเวลาว่างจะกลายเป็นประสบการณ์แห่งการเชื่อมต่อ
เราจะเดินทางเข้าสู่ “มัลติ-คลาวด์”
คลาวด์ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นรูปแบบไอทีที่มีการฝังเรื่องของระบบควบคุมการทำงานทั้งหมด ระบบอัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะไว้ในโครงสร้างพื้นฐานไอที ในปี 2018 นี้ องค์กรธุรกิจต่างๆ จะพากันมุ่งไปสู่แนวคิดของมัลติ-คลาวด์กันอย่างท่วมท้น เพื่อให้มีข้อได้เปรียบจากคุณค่าของคลาวด์ในทุกโมเดล ไม่ว่าจะเป็น ไพรเวทคลาวด์ พับลิค คลาวด์
ไปจนถึงการโฮสต์ การจัดการ และคลาวด์ในรูปของซอฟต์แวร์เชิงการบริการ หรือ SaaS อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการย้ายแอปพลิเคชัน และเวิร์กโหลดจำนวนมากขึ้นไปสู่คลาวด์ที่หลากหลาย การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของคลาวด์ที่เป็นไซโล จะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ดั้งนั้นองค์กรต้องมีความสามารถเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากระบบวิเคราะห์ข้อมูลและความริเริ่มด้าน AI เรื่องนี้ยังส่งผลไปถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์แบบผิดที่ผิดทางเพราะจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ปรารถนา องค์กรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกจะยังคงถูกท้าทายเพื่อทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานตอบโจทย์ความท้าทายที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนได้
ในขณะที่ยังคงต้องใส่ใจแอปพลิเคชันสำหรับอนาคต ก้าวต่อไปคือ เราจะเห็นการเกิด “เมกะ คลาวด์” ซึ่งจะร้อยเรียงไพรเวทคลาวด์ที่หลากหลาย รวมถึงพับบลิค คลาวด์ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบรวมได้อย่างสอดคล้อง เมกะ คลาวด์ จะให้มุมมองรวมของสภาพแวดล้อมไอทีทั้งหมดได้อย่างชาญฉลาด
การทำให้เมกะคลาวด์ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้นั้น เราจะต้องสร้างนวัตกรรมแบบมัลติ-คลาวด์ ในระบบเชื่อมต่อเครือข่าย (เพื่อย้ายข้อมูลไปมาระหว่างคลาวด์ได้) รวมถึงสตอเรจ (เพื่อเก็บข้อมูลไว้ในคลาวด์ที่เหมาะสม) และประมวลผล (เพื่อใช้ประโยชน์เรื่องของระบบประมวลผลที่ดีที่สุดและเร่งงานเวิร์กโหลด)
การจัดลำดับการทำงานทั้งหมด หรือ Orchestration (เพื่อเชื่อมระบบเชื่อมต่อเครือข่าย รวมถึงสตอเรจ และการประมวลผลร่วมกันระหว่างคลาวด์ต่างๆ) และ สิ่งที่เป็นโอกาสใหม่คือ ลูกค้าจะต้องรวมการทำงานของ AI และ ML เพื่อให้เป็นระบบอัตโนมัติ และมีมุมมองเชิงลึกไปสู่ความเหนือชั้นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมไอทีแบบเน็กซ์เจน
ปีแห่งการเสียเหงื่อไปกับเรื่องเล็กๆ
ในโลกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันมากยิ่งขึ้น การไว้วางใจในบุคคลที่สามจะเป็นเรื่องสำคัญมากยิ่งขึ้น องค์กรจะไม่ได้เป็นแค่หน่วยเล็กๆ แต่จะมีระบบเชื่อมต่อระหว่างกันมากมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่มหาศาล การกระเพื่อมของความยุ่งเหยิงจะแผ่ไปไกลขึ้น เร็วขึ้น เพราะตอนนี้เทคโนโลยีเชื่อมต่อเราไปยังหนทางที่น่าพิศวง
ลองพิจารณาว่าหนึ่งในช่องโหว่ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นจากผู้โจมตีใช้หลักฐานอ้างอิงตัวตนล็อกอินเข้าไปที่ระบบ HVAC ของผู้อื่น ดังนั้น ในปีใหม่นี้ จะกลายเป็นปีของการดำเนินการสำหรับองค์กรข้ามชาติ โดยเป็นแรงบันดาลใจจากการจู่โจมของกฏระเบียบข้อบังคับใหม่เช่น GDPR
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อองค์กรทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ความสำคัญอันดับต้นคือการติดตั้งเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และเทคโนโลยีเพื่อปกป้องข้อมูลและป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องนี้จะเติบโตอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ทั้งนี้องค์กรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะถูกผลักดันให้เพิ่มงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย และยังต้องมองที่ความพยายามร่วมกันทั้งองค์กรเช่นการรับรู้ของพนักงาน การรักษาความปลอดภัย IoT จะอยู่อันดับต้นของลิสต์เรื่องการรักษาความปลอดภัยที่จัดเป็นความสำคัญอันดับต้นของภูมิภาคเช่นกัน
เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ในส่วนของจุดเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ใกล้อุปกรณ์ ตลอดจนระบบงานหลัก ไปจนถึงคลาวด์ (from edge to core to cloud) เนื่องจากนวัตกรรม IoT รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอบคุณภาพประกอบจาก www.pexels.com
**** ขอขอบคุณบทความจาก
คุณอโณทัย เวทยากร
รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่