NIA สานความร่วมมือ 5 พันธมิตร จัดประกวด AgTech Innovation Awards 2019 เฟ้นหานิวเจเนอเรชั่นเกษตร รุ่นใหม่ หวังปรับโฉมโครงสร้
NIA AgTech Innovation Awards 2019
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เผยจุดเปลี่ยนสำคัญในการพั
ซึ่งจะช่วยปูทางการพัฒนานวั
เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการสร้
และสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่
นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
ปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม และและผู้อำนวยการศูนย์วิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย สนช. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า จากนโยบายเกษตร 4.0 ของรัฐบาล โดยปรับเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การเกษตรสมัยใหม่
ที่เน้นการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยี หรือที่เรียกว่าเกษตรแม่นยำสูง (precision farming) โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานกับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งนโยบายปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งเน้นการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)
ซึ่งเป็นธุรกิจหรือโครงการในลักษณะที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการหรือโครงการเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด สนช. จึงได้ริเริ่มและดำเนินงานจัดตั้ง “ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center: ABC Center)
โดยมีพันธกิจหลัก คือ เร่งสร้างเสริมความสามารถแก่ผู้ประกอบการธุรกิจที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยได้ริเริ่มดำเนินงานการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร เพื่อยกระดับการเกษตร โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
เป็นการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของประเทศไทย ให้มีความสามารถในการดำเนินงาน ในการนำวัตถุดิบทรัพยากร หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ที่มีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐาน ทั้งในส่วนเกษตรกรปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และทำประมง มีการพัฒนาทั้งด้านการผลิต การจัดการ และการตลาด
ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาด้านการเกษตรร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างอนาคตที่ก้าวล้ำให้กับการเกษตรไทย ล่าสุด ABC center จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยกลุ่มธุรกิจจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินกิจกรรม Inno4farmers: โครงการพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมเกษตรรุ่นใหม่
เพื่อผลักดันให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร สตาร์ทอัพ และกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านการเกษตร ส่งผลงานนวัตกรรมการเกษตรใน 3 สาขาที่ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพและจำเป็นสำหรับประเทศไทย ได้แก่
- สาขาธุรกิจเกษตรดิจิทัล
- สาขาธุรกิจเครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
- สาขาธุรกิจการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง
ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมและบ่มเพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและด้านธุรกิจมืออาชีพ การพัฒนาทักษะการนำเสนอ รวมทั้ง มีโอกาสได้นำเสนอผลงานกับนักลงทุนเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ
นอกจากนี้ ช่วงท้ายของโครงการยังมีการประกวด AgTech Innovation Awards 2019 เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเลิศ ของแต่ละสาขาธุรกิจ รวมทั้งมีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ณ ประเทศไต้หวันอีกด้วย
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า ในการดำเนินงานโครงการ Inno4Farmers มก. รับหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการที่จะพลิกโฉมแนวทางการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรในรูปแบบใหม่
โดยการผนวกหลักสูตรการอบรมสร้างมุมมองใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการการเกษตร รวมทั้งวางแผนงานการพัฒนานวัตกรรม ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การบริการ และรูปแบบธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีการทำต้นแบบผลิตภัณฑ์
โดยมีทีมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญที่ตอบโจทย์ความต้องการจาก มก. และเครือข่ายของภาคธุรกิจมืออาชีพมาเป็นพี่เลี้ยงในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ นำไปสู่การประกวดนวัตกรรมการเกษตร โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายมุมองแนะนำแนวทาง เพื่อจะนำไปสู่การเกิดธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร เกิดการนำไปให้เกิดการใช้งานได้อย่างแพร่หลาย
นับได้ว่าเป็นการกระตุ้นและจุดประกายให้เกิดการสร้างแนวคิดทางการเกษตรสมัยใหม่ และเกิดการเชื่อมโยง การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเกษตรสมัยใหม่ ตลอดจนได้กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวด้านการสร้างธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร
เล็งเพิ่มเป็น 7 สาขา ในปี 2562
ปริวรรต วงษ์สำราญ กล่าวเสริมว่า ในปีถัดไป การพัฒนาสาขาธุรกิจนวั
สาขาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาธุรกิจเกษตรดิจิทัล สาขาธุรกิจเครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สาขาธุรกิจการจัดการหลังการเก็
เพื่อลดช่องว่
Photo Gallery
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่