เอ็นไอเอ (NIA) ดึงเพนซิลเวเนียโมเดลหนุนศักยภาพนวัตกรรมไทย พร้อมหารือ 4 องค์กร เปิดฉากความร่วมมือเทคฯ ชีวภาพ สตาร์ทอัพ อีโคซิสเต็ม…
NIA ดึงเพนซิลเวเนียโมเดล หารือ 4 องค์กร หนุนศักยภาพนวัตกรรม
เอ็นไอเอ ร่วมหารือ 4 หน่วยงานส่งเสริมด้านนวั
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้
เพื่อสอดรับกับการสร้างสรรค์ธุ
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ด้านระบบนวัตกรรม เปิดเผยว่า เพื่อสนับสนุนนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย ล่าสุดคณะทำงานด้านการส่งเสริมนวัตกรรมของ
เอ็นไอเอ จึงได้เดินทางไปยังนครฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อสรรหาความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรมในประเทศไทย ซึ่งสหรัฐอเมริกาถือว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลกในเรื่องของการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม
ซึ่ง 4 หน่วยงานสำคัญที่ เอ็นไอเอ ได้เข้าพบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการดำเนินงานและเชื่อมโยงความร่วมมือประกอบด้วย
Startup PHL ซึ่งเป็น Venture Capital จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือของ The City of Philadelphia, Department of Commerce และ The Philadelphia Industrial Development Corporation (PIDC) เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ฟิลาเดลเฟีย
ที่ช่วยสนุบสนุนผู้ประกอบการ Startup ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน จัดหากองทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงช่วยให้ Startup สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และให้การอบรมด้านการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานเครือข่ายสำคัญหน่วยงานหนึ่งในอนาคตของ Startup Thailand ในการเข้าถึงด้านดังกล่าวต่อไป
บริษัท Lux Research เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีข้อมูลคุณภาพจากทีมนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญ มีองค์ประกอบทั้งนักวิจัยการตลาด นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท
รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาชั้นนำในการผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในตลาดโลก โดยความร่วมมือในอนาคตจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลและรูปแบบในการจัดระบบ และพัฒนานิเวศนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผนพัฒนาด้านดังกล่าวให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงในประเทศไทย
Pennovation ศูนย์บ่มเพาะและสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่เน้นการสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินการของผู้ประกอบการใหม่ตั้งแต่เริ่มกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจจนถึงขั้นปฏิบัติ จัดเป็น Co-Working Space ที่มีเครื่องมืออุปกรณ์และห้องทดลองที่ครบครัน
สามารถสนับสนุนการขึ้นต้นแบบชิ้นงาน และการทำวิจัยในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้จนถึงขั้นของการวิจัยตลาดเพื่อออกสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบการจัดการที่สมบูรณ์และมีความทันสมัย โดยประเทศไทยสามารถใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสอดรับกับการสร้างสรรค์ธุรกิจสมัยใหม่ของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
The Science Center เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่เป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยเชิงนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ให้การช่วยเหลือและให้บริการด้านเครื่องมือเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการทดลองวิจัย และให้คำปรึกษาพร้อมจัดหาแหล่งเงินทุนแก่นักนวัตกรรม ผู้ประกอบการ และ Startup
มีความร่วมมือกับศูนย์วิจัย ห้องปฏิบัติการทดลอง และสถาบันการศึกษา มากกว่า 31 แห่ง มีโปรแกรมการพัฒนานักวิจัยและผู้ประกอบการตั้งแต่การบ่มเพาะเรื่อง STEAM สำหรับเยาวชน ไปจนถึงการสร้างความสามารถของผู้ประกอบการ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนานักนวัตกรรมของไทย รวมถึงการสนับสนุนโปรแกรม STEAM4INNOVATOR ของ เอ็นไอเอ ที่ปัจจุบันกำลังใช้โปรแกรมดังกล่าวในการบ่มเพาะเยาวชนให้ก้าวสู่การเป็นสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการด้านธุรกิจนวัตกรรม
สหรัฐอเมริกายังถือเป็นประเทศชั้นนำด้าน ซิลิคอน วัลเลย์ ซึ่งมีบริษัท และสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำ ตลอดจนผู้ประกอบการธุรกิจ นักลงทุน และแรงงานในตลาดงานสายเทคโนโลยีที่มากที่สุดของโลก ซึ่งไทยสามารถนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาในด้านดังกล่าวหรืออื่นๆ ที่สอดคล้องได้
นอกจากนี้ หากในอนาคตมีความร่วมมือเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและจริงจังมากขึ้น คาดว่าจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาได้อีก อาทิ ด้านการเงิน (Venture Capital) การวิจัยในภาคธุรกิจ
การเชื่อมโยงธุรกิจในรูปแบบคลัสเตอร์ การสร้างข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบนวัตกรรมซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้สหรัฐอเมริกาถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลก
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่