NTT

NTT ตั้งเป้ารุกอุตสาหกรรมโรงงานการผลิตทั้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ด่วยนวัตกรรม IoT ที่ผสานรวมเข้ากับ AI หวังช้วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมโรงงานผลิตแบบครบวงจร…

highlight

  • มีเพียง 4% ของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมภาคการผลิตในไทยได้มีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิง (Internet of Things : IoT) เข้ามาช่วยบริหารจัดการระบบ
  • เอ็นทีที คอม เตรียมนำเสนอนวัตกรรม IoT เจาะกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงานการผลิตทั้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ด้วยบริการ Intelligence Process Optimization แบบครบวงจร เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิต พร้อมผลักดัน AI เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ ประเดิม อุตสาหกรรมรถยนต์ พลังงาน อาหาร และเคมีภัณฑ์

NTT เตรียมนำเสนอนวัตกรรม IoT+AI สำหรับอุตสาหกรรมโรงงาน

ศานิต เกษมสันต์ ณ อยุธยา รองประธานแผนกผลิตภัณฑ์และบริการ บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันกว่า 4% ของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมภาคการผลิตในไทยได้มีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิง (Internet of Things : IoT) เข้ามาช่วยบริหารจัดการระบบ

แต่จากการสำรวจกระบวนการทำงานในโรงงานถึงแม้จะเป็นโรงงานผลิตขนาดใหญ่ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากข้อมูลในการผลิตไม่ถูกจัดเก็บไว้ที่จุดศูนย์กลาง มีความผิดพลาดที่เกิดจากการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงความผิดพลาดจากการทำงานแบบแมนนวล

เราจึงได้พัฒนาบริการที่เรียกว่า Intelligence Process Optimization ขึ้นมา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับภาคโรงงานผลิตในการผลักดันเทคโนโลยี IoT เข้ากับเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (Operational Technology : OT) ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

NTT
ศานิต เกษมสันต์ ณ อยุธยา รองประธานแผนกผลิตภัณฑ์และบริการ บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ซึ่งบริการ Intelligence Process Optimization นั้นจะเริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษา สำรวจพื้นที่ ออกแบบระบบเครือข่าย การจัดหาอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูล รวมไปถึงนำเสนอแพลตฟอร์มในการทำงาน หรือโซลูชั่นที่เหมาะสม เพื่อจัดเก็บข้อมูลการผลิตแบบรวมศูนย์ ให้มีความชัดเจน สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม

รวมถึงการเพิ่มความสามารถในการนำไปวิเคราะห์สถานะในการทำงานแต่ละวัน และเชื่อมโยงข้อมูลให้สามารถตรวจสอบจากศูนย์ควบคุมทั้งภายใน และภายนอกโรงงานได้ ซึ่งเมื่อโรงงานอุตสาหกรรมภาคการผลิตใช้บริการของเราเข้าไปช่วยในการบริหารจัดการข้อมูล ความเสี่ยง การตรวจสอบ การบันทึก

และวิเคราะห์สถานะของระบบการทำงานของโรงงานแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง ก็จะช่วยย่นระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล และขั้นตอนในการทำงาน เนื่องจากสามารถรวบรวมข้อมูลการจัดเก็บคลังสินค้า และอุปกรณ์การผลิต รวมถึงวิเคราะห์ เพื่อแสดงจุดบกพร่อง หาสาเหตุของความเสียหายจากกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และตรงจุด

ซึ่่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิตให้มีความเสถียรมากขึ้น และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สอดรับกับการปรับตัวเข้าสู่ Digital Transformation ที่ในปัจจุบันต้องอาศัยความรวดเร็ว และแม่นยำ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดได้ทันท่วงที

นอกจากนี้เรายังได้เตรียมใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติจากการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เข้ามาเรียนรู้ข้อมูลภายในแพลทฟอร์มด้วยรูปแบบของ Data Robot โดยการสร้างแบบจำลองรูปแบบของโครงการ หรือกระบวนการผลิต แล้วนำมาประเมินสถานการณ์เพื่อให้เห็นข้อมูลชัดเจน

และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ตลาดได้มากที่สุดยิ่งขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มโรงงานขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ พลังงาน อาหาร และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่