กฟภ. ล้ำไปอีกขั้น สร้างห้องประชุมอัจฉริยะ (Smart Meeting Room) ที่สามารถยืนยันตัวตน ด้วยใบหน้า และติดตามเสียงสนทนา ได้ด้วยเทคโนโลยี จาก หัวเว่ย

PEA Smart Meeting Room

เสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ระบบสื่อสารอัจฉริยะนี้ใช้งานได้ง่าย พร้อมด้วยคุณสมบัติในการเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วขึ้น

ถือเป็นอีกก้าวของ กฟภ. ในการเดินหน้าไปสู่การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล สอดคล้องกับแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 และเป้าหมายของเราที่จะก้าวเป็น “การไฟฟ้าแห่งอนาคต” (The Electric Utility of the Future)

Smart Meeting Room

โดยห้องประชุมอัจฉริยะติดตั้งด้วยระบบกล้อง VPT300 ซึ่งเป็นกล้องอัจฉริยะติดตามผลของหัวเว่ย มาพร้อมกับเทคโนโลยีด้านวิดีโอใหม่ล่าสุด อาทิ การตรวจจับเสียงและระบบจดจำใบหน้า และคุณสมบัติใหม่ ๆ เช่น การติดตามเสียง (audio-tracking) 

การจับภาพแบบพาโนรามาที่ปรับได้ (adaptive panoramic image capture) และการพูดคุยแบบรายบุคคล (P2P) ยกตัวอย่างเช่น ระบบ VPT300 สามารถตรวจจับการพูดของบุคคลและแสดงผลภาพในระยะใกล้แบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องปรับระยะแบบแมนวล

ซึ่งหากผู้เข้าประชุม กำลังสนทนากับผู้เข้าประชุม ระบบ P2P ก็จะแสดงภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสองในระหว่างการสนทนาแบบ Face-to-face โดยอัตโนมัติ ระบบดังกล่าวยังสามารถเชื่อมต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ได้มากถึง 200 แห่งในการร่วมประชุมโดยพร้อมกัน

นอกจากนี้ ด้วยฟังก์ชั่น AirPresence Key แบบปลั๊กแอนด์เพลย์ ช่วยให้ผู้เข้าประชุมทุกคนสามารถแชร์ข้อมูลได้แบบไร้สายจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในคลิกเดียว โดยไม่ต้องใช้หรือย้ายปลั๊กต่อพ่วงให้ยุ่งยาก

Smart Meeting Room

สำหรับห้องประชุมอัจฉริยะนี้ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคาร LED ภายในสำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถนนงามวงศ์วาน กรุงเทพฯ ภายในห้องครบครันด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ใช้งานได้ง่าย

ทำให้ กฟภ. บริหารจัดการการติดต่อสื่อสารกับคู่สนทนาได้ทั่วโลก ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์และสัมมนาออนไลน์ แทนการประชุมที่ผู้เข้าร่วมต้องมาประชุมด้วยตนเอง ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานลงได้

ด้าน มร. หู กั่ง หัวหน้าฝ่ายขาย กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า คอนเซ็ปท์ของห้องประชุมอัจฉริยะนี้คือ การทำให้เทคโนโลยีมีความอัจฉริยะและกลมกลืนไปกับห้อง ง่ายต่อการบริหารจัดการ

เพื่อให้ผู้ใช้สามารถโฟกัสกับเนื้อหาการประชุมผ่านวิดีโอได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ห้องประชุมอัจฉริยะนี้เป็นผลสำเร็จอันเกิดจากความร่วมมือระยะยาวระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหัวเว่ย ประเทศไทย เพื่อให้ กฟภ. ได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีด้านไอซีทีอันทันสมัยของหัวเว่ย

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ศุภวาท (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่