ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการจะผลักดันนโยบาย National E-Payment เพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสด จึงได้กำหนดมาตรฐานการใช้จ่ายเงินผ่าน QR Code โดยมีการเซ็น MOU ร่วมกับธนาคารและผู้ให้บริการบัตรเครดิตหลายแห่งเพื่อให้การชำระเงินและจับจ่ายสินค้าเป็นเรืองง่ายมากขึ้น
สำหรับผู้บริโภค การใช้งานระบบดังกล่าวก็ไม่ยากครับ เพียงแค่เรามีแอพของธนาคารใดธนาคารหนึ่ง โดยในแอพนั้นจะผูกกับบัตรเดบิตรหรือบัตรเครดิตก็ได้ และเมื่อเราไปใช้จ่ายผ่านร้านค้าต่าง ๆ ก็เพียงแค่กดเข้าแอพ ใส่รหัส PIN เพือเข้าใช้งานแอพ ( รหัสที่เรารู้แค่คนเดียว) จากนั้น แสกน QR Code ของทางร้าน ใส่ราคา กดตกลง รอข้อความตอบกลับ เป็นอันเสร็จ ง่ายไหมครับ
สำหรับผู้ประกอบการ ร้านค้า หรือคนทั่วไปอย่างเรา ๆ ที่ต้องการมีคิวอาร์โค๊ดไว้ให้ลูกค้าจ่ายเงิน ก็สามารถติดต่อธนาคารเจ้าของบัญชีได้ของเราโดยตรงครับ ซึ่งธนาคารจะเป็นผู้กำหนด QR Code ออกมาให้เราเอง
“ถ้าเห็นตามภาพก่อนหน้านี้ วินมอเตอร์ไซต์ แม่ค้าขายหวย หรือแม่ค้าขายพวงมาลัย ก็สามารถรับชำระเงินผ่าน QR Code ได้”
ในส่วนของ “ค่าธรรมเนียม” ระหว่างธนาคารที่หลายคนอาจจะกังวล ทาง ธปท. ได้ยึดหลักตาม Promtpay ครับ ถ้าใช้จ่ายไม่เกิน 5 พันบาทต่อครั้งก็ฟรี ช็อปปิ้งตามสบาย นั่นแปลวาเราแทบที่จะไม่ต้องพกเงินสดเลย เพียงแค่มี Smart Phone และแอพ Mobile Banking ของธนาคารสักแห่ง ตัวอย่างตามภาพด้านล่าง
โดยตามภาพ แอดมินใช้แอพของธนาคารกรุงเทพ และผูกไว้กับบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งเมื่อจะเข้าใช้แอพต้องใส่ รหัส PIN และในแอพจะมีฟังก์ชั่น “สแกนเพื่อจ่ายเงิน” ให้เราสามารถสแกน QR แล้วก็จ่ายได้เลย
ปลอดภัยแค่ไหน ?
ถ้าเรายังกังวลกับการใช้จ่ายออนไลน์ ขอให้เลิกกังวลเถอะครับ สิ่งที่ต้องกังวลมีเรื่องเดียว คืออาจจะต้องควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองบ้าง ไม่ใช่เห็น “Sale” ก็ “Pay” อย่างเดียว ที่บอกแบบนั้นเพราะว่า ธปท. รวมทั้งธนาคารหลายแห่งได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยมาให้เราใช้บนแอพแล้ว แค่เราอย่าหลงไปบอกรหัส PIN กับใครง่าย ๆ ก็พอ ซึ่งถ้าเราลืมรหัส PIN ก็จะมีการตรวจสอบโดยละเอียดอีก ฉะนั้น “ปลอดภัย”
และถ้าจะกลัวว่าระบบของธนาคารจะโดนแฮ๊คแบบในหนังเปล่า ลืมไปได้เลย เพราะถึงแม้ระบบ ICT ของรัฐยังเห่ย แต่ในเรื่องระบบการเงินนั้นก็ไม่เป็นรองใคร ไม่มีแฮคเกอร์คนไหนโจมตีหน้าบ้านหรอกครับ โดยตามสถิติ แฮคเกอร์ก็แฮคผ่าน User เนี่ยแหละ
ใครได้ประโยชน์สูงสุด
แน่นอนครับว่าผู้ได้ประโยชน์คนแรกต้องเป็นผู้บริโภคอยู่แล้ว ลองนึกภาพว่ามีมือถือเครื่องเดียวก็ กิน เที่ยว ช็อปได้สบาย พร้อมทั้งชำระเงินในต่างประเทศได้อีกด้วย แต่อาจจะต้องมาควบควมคุมการใช้จ่ายของตัวเองนิดนึง ไม่งั้นจ่ายอย่างเดียวอาจจะมานั่งน้ำตารินตอนบิลมานะจ๊ะ
ประโยชน์ในอีกมุมคือเป็นการผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสด หรือ (Cashless) ส่วนตัวสงสัยนะว่า ไร้เงินสดแล้วมันยังไง ? มันต่างอะไรกับการใช้เงินสด เมื่อดูข้อมูลดีๆ ก็ถึงบางอ้อครับ เพราะ Cashless กำลังกลายเป็นมาตรฐานสากลที่จะใช้ทั่วโลก ซึ่งถ้าตอนนี้เราไปประเทศจีนแล้วจ่ายเงินสด บางร้านอาจจะไม่รับก็ได้…
ในมุมผู้ประกอบการ ถ้าเขามีการใช้คิวอาร์โค๊ดในการรับชำระเงินก็เป็นการเพิ่มช่องทางการชำระอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อให้บริการครอบคลุมมากขึ้น ทำให้มีส่วนเพิ่มยอดขายได้
สิ่งสำคัญคือสามารถต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินได้โดยง่าย โดยข้อมูลการรับชำระเงินจะเป็นรากฐานสำคัญของร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็กเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการขอสินเชื่อ ซึ่ง ณ ตอนนี้ สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มให้สินเชื่อโดยใช้ข้อมูลชำระเงินเป็นข้อมูลอ้างอิงแล้ว ทำไมนะหรอ ? ก็ไม่ต้องหอบเอกสารหนึ่งอึ้งเพื่อไปกู้แล้วน่ะสิ
ซึ่งมองรวม ๆ แล้ว เราก็ได้ประโยชน์กันทุก ๆ ฝ่ายนะ เพราะบริการนี้ทาง ธปท. ก็ทำออกมาเพื่อขจัดการความยุ่งยากในการชำระเงินเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เอื่อประโยชน์ให้ใครเพียงฝ่ายเดียว
ทั้งนี้มาตรฐานการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค๊ดทาง ธปท. ได้เปิดให้ธนาคารและผู้ให้บริการเสนอโครงการเข้าพิจารณาใช้ใน Regulatory Sandbox (คล้าย ๆ กับระบบไว้ใช้ทดลองงาน) เพื่อทดสอบให้มั่นในในความถูกต้องของการทำรายการ และการดูแลผู้ใช้บริการ ซึ่งตอนนี้มีธนาคาร 2 แห่งอยู่ระหว่างการทดสอบ และอีก 6 แห่งอยู่ระหว่างยืนขอเข้าโครงการ โดยการให้บริการธนาคารแต่ละแห่งจะเริ่มทยอยให้บริการออกมาเรื่อยๆ