Self - Driving Car

Self – Driving Car รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ใช้พลังของเซนเซอร์และสมองกลอัจฉริยะ ถูกพัฒนาจากแนวคิดที่อยากเพิ่มความปลอดภัยให้กับมนุษย์

Self – Driving Car เป็นเรื่องที่หลายคนพูดถึงมาหลายปี แต่การทดสอบและการนำมาวิ่งจริงบนถนนนั้นเราอาจจะพึ่งเคยเห็นในปีที่ผ่านมาเท่านั้น และนั่นก็ทำให้ทุกคนเริ่มให้ความสนใจกับเรื่องมากขึ้น บริษัทรถยนต์หลายแห่งเริ่มปล่อยข่าวว่าตนเองกำลังพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติโดยร่วมมือกับบริษัทผู้สมองกลหลายแห่ง

สำหรับการพัฒนา เราไม่สามารถหยุดยั้งการเติบโตทางเทคโนโลยีได้ ทุกเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาให้กับมนุษย์ ก็ทำให้รูปแบบดั้งเดิมบางอย่างนั้นดับสูญไป เป็นรื่องเศร้าที่ทุกคนต้องยอมรับและต้องเตรียมตัวให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง  ต่อจากนี้ ELEADER จะลองวิเคราะห์ถึงแนวโน้มต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากมีการนำมาใช้จริง

คนจะได้หรือเสียอะไร…

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่ารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้นถูกพัฒนาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับมนุษย์ ในกรณีที่เราเหนื่อยล้าหรือเมา ก็อาจใช้มันเพื่อให้กลับถึงบ้านได้ และ AI นั้นไม่มีอารมณ์โกรธหากใครขับตัดหน้ารถ ซึ่งเมื่อเราไม่ได้ขับเอง มันก็ช่วยให้ลดความเครียดและการบันดาลโทสะระหว่างขับขี่บนท้องถนนลงได้ นอกจากนี้เรายังมีเวลาเหลือเฟือในการทำอย่างอื่นบนรถได้  เช่นทำงาน หรือเสพคอนเท้นต์ต่าง ๆ   (ผมว่าหลายคนก็อาจทำตอนรถติดล่ะมั้ง)

ในอีกแง่มุมคือ ผลเสีย ที่เกิดขึ้น คนบางกลุ่มต้องสูญเสียงาน เช่น พนักงงานขับรถและพนักงงานส่งของ รัฐอาจสูญเสียรายได้จากการฝ่าฝืนกฎจราจร  ผู้คนอาจเป็นเจ้าของรถน้อยลง(เพราะมี Cars Sharing)  ส่งผลต่อรายได้ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทผลิตชิ้นส่วนประกอบรถ และความน่ากลัวที่สุดคือการโจมตีไซเบอร์ที่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การยึดรถเป็นตัวประกัน (Ransomware)  หากไม่จ่ายค่าไถ่ก็ใช้งานรถไม่ได้  การขโมยรถโดยส่งมัลแวร์เข้าไปปลดล๊อคประตูและสตาร์ทรถ (Malware attack) หรือ การเข้าบังคับรถเพื่อก่อการร้าย ดังในหนังเรื่อง Die hard 4 (อันนี้อาจจะเว่อไปนิดนะครับ แต่มันก็มีความเป็นไปเหมือนกันนะ)

ผลต่อธุรกิจ และรูปแบบธุริจบางอย่างที่อาจะเปลี่ยนไป

แน่นอนว่าอันดับแรก บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการส่งสินค้าจะได้รับประโยชน์เต็ม ๆ  เพราะถ้าหากมีการพัมนาไปถึงขั้นที่ใช้งานได้ทั่วไปได้ ราคาเซนเซอร์และต้นทุนการผลิตของรถยนต์จะถูกลงมาก  และการจ้างคนขับรถยนต์จึงไม่จำเป็นเป็นอีกต่อไป ส่งผลต่อรายได้ที่เพิ่มขึ้น

บริษัทประกันจะอยู่ได้ไหม ?   ก็ถ้า AI เป็นคนขับและรถยนต์ทุกคนก็มีสมองกลช่วยขับ ช่วยตัดสินใจในการขับขี่  อัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนก็แทบจะเป็นศูนย์ บริการประกันภัยคงต้องขายยากขึ้นมากแน่นอน เราอาจได้เห็นรูปแบบบริการใหม่ของบริษัทประกันรถยนต์ เพื่อดิ้นรนให้ตัวเองอยู่รอด   เช่น การบริการประกันภัยเฉพาะ AI ขับเท่านั้น หรือการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกันภัยด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันน้ำท่วม, ไฟไหม้, สุขภาพ หรือแม้กระทั่งชีวิต

ในเรื่องของกฎหมาย

ปัจจุบันต่างประเทศพยายามเร่งออกกฎหมายอนุญาตให้รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองทดลองวิ่งบนถนนได้ แต่เราอยู่ในประเทศไทยเนอะ ก็ขอพูดถึงกฎหมายของไทยก่อน โดยในเว็บไซต์ lawforasean  ได้พูดถึงข้อกฎหมายในการใช้ AI ในการควบคุม Self – Driving Car โดยสรุปได้ว่า หากมีอุบัติเหตชนกันเกิดขึ้นโดยมี AI เป็นผู้ขับ อาจต้องมีการพิสูจน์ในขั้นแรกว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด (เหมือนกับกรณีของคนขับนั่นแหละ) และถ้าฝ่าย AI ผิด ผู้ถือครองทรัพสินย์ (ตัวรถและระบบ AI) จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายคืนให้แก่คู่กรณี

และหากจะชี้ถึงประเด็นที่ว่าใครคือผู้รับผิดทางกฎหมายนั้น จะต้องพิจารณาไปถึงคำนิยามของ AI ว่าในทางกฎหมาย AI จัดอยู่ในประเภทใด หากสอดคล้องกับประเภทที่กฎหมายบัญญัติถึงเรื่องความรับผิดอยู่แล้ว เช่น ความรับผิดของเครื่องจักร ความรับผิดของทรัพย์อันตราย ความรับผิดของสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ก็สามารถนำกฎหมายเรื่องนั้น ๆ มาบังคับใช้ได้

แต่หากในอนาคตอาเซียนได้นำ AI ที่พัฒนาจนถึงขั้นที่ว่า AI สามารถมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดเอง ประเทศอาจจะต้องพิจารณาถึงการออกกฎหมายพิเศษเพื่อกำหนดสถานะทางกฎหมายใหม่ให้แก่ AI ในอนาคต