Smart Transportation

เรื่องของ Smart Transportation 4.0 เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมาในช่วงที่ผ่านมา โดยทั้งภาครัฐ และเอกชน ต่างเร่งพัฒนาด้วยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาผสานการใช้งานเพื่อยกระดับขีดความสามารถในด้านขนส่ง รับการก้าวสู่การเป็น Smart City

Smart Transportation

Smart Transportation 4.0 รัฐ-เอกชน ไทยเร่งใช้นวัฒกรรมไอทียกระดับการขนส่ง… ทำได้จริง?

อย่างที่ทราบกันดีว่าการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นเรื่องที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรม และหลายฝ่ายต่างต้องการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งหมายความถึงโอกาส และความท้าทาย ที่มีอีกหลายเรื่องที่จะต้องดำเนินการ

ปัจจุบัน ภาครัฐ และเอกชน พยายามจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สมาร์ท โมบิลิตี้” (Smart Mobility) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอภิมหาโครงการ เมกะโปรเจ็กส์ (Mega Project) ระดับชาติ หรือที่คุ้นชินในชื่อ “สมาร์ท ซิตี้” (Smart City) ที่เป็นภาพอันสวยหรุู และวาดฝันว่าจะทำให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติ อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี

และเกิดกระบวนการจ้างงาน บราๆๆๆ ซึ่งฟังดูเหมือนทุกอย่างจะสวยงามไปซะหมด เนื่องจากสิ่งที่ภาครัฐเองนั้นดำเนินการอยู่คือการพยายามออกนโยบาย เพื่อให้เมืองต่างๆเร่งพัฒนา และขอความร่วมมือเอกชนเข้ามาช่วยลงทุน โดยสิ่งที่ให้มาตราการลดหย่อนภาษีในรูปแบบต่างๆ

อาทิ โครงการจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504 – 2509) ที่ จ.ขอนแก่น ถูกกําหนดให้เป็นเมืองสําคัญและเป็นเมืองศูนย์กลางด้านต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้มอบหมายให้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ทำร่วมกับเมืองขอนแก่น (Khon Kaen Smart City)

และได้มีการนำเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT มาใช้ กับอุปกรณ์ติดตัวผู้ป่วย และรถฉุกเฉินเพื่อเพิ่มขีดความสามารถรักษาพยาบาลตามขั้นตอนทางการแพทย์ และนำผู้ป่วยส่งถึงมีแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว ร่วมถึงโครงการขอนแก่น ซิติี้ บัส (City Bus) โดยผู้โดยสารจะรู้ว่า รถจะมาถึงสถานีในเวลาใด ผ่าน Application KK transit

Smart Transportation

แต่!!…. ชีวิตจริงไม่ได้อยู่ในนิยาย เพราะหากพิจารณาถึงปัจจัยที่จำเป็น คือ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ที่ต้องบอกว่ายังคงกระจุกตัวแค่ในตัวเมืองชั้นในเท่านั้น แต่เมื่อตรวจสอบกันให้ดี เมื่อออกไปในส่วนขอบเมือง ก็จะพบปัญหาว่าไม่สามารถใช้งานได้สอดคล้องกับสิ่งที่ทั้ง ภาครัฐ และเอกชน ตั้งใจจะไป หรือจะเป็น

เพราะไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีแบบใด ก็ต้องสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดการใช้เชื่อมต่อของข้อมูลทั้งนั้น และในหลายส่วนก็ต้องการความเร็ว และความมีสเถียรภาพของการเชื่อมต่อ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน ไวไฟ หรือเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยี 3G หรือ 4G

ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่า ในบางจุดแม้แต่สัญญาณผ่านคลื่นผู้ให้บริการ ก็มีอาการที่ กระตุกๆ ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ หรือแม้หากเชื่อมต่อได้ก็มีความเร็วไม่เพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้งานจริงในรูปแบบของข้อมูลเรียลไทม์ผ่านโปรแกรมต่างๆ

วันนี้บทบาทที่เราเห็นจากภาครัฐที่ชัดเจนมากที่สุดในการเร่งผลักดัน คือ “หวัง+ขอร้อง” ให้ภาคเอกชนเป็นผู้แก้ไขปัญหาแทน โดยร้องขอให้เอกชนลงทุนในการขยายจุดสัญญาณเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด แต่ภาครัฐอาจลืมไปว่าการขยายเสาสัญญาณ หรืออุปกรณ์นั้น ทุกอย่างคือต้นทุนที่เอกชนต้องแบกรับ

ซึ่งหากไม่คุ้มค่าการลงทุนก็ไม่มีีเอกชนรายใดอยากที่จะทุ่มงบประมาณลงไป แม้ว่ามีการให้ 2 หน่วยงานรัฐ (ย่านแจ้งวัฒนะ) ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องเดินหน้าขยายพื้นที่อินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุม แต่ก็อย่างที่เห็นว่าการดำเนินการเป็นไปได้อย่างล่าช้า และมีในรูปแบบของการจ้างผู้รับเหมาในพื้นที่เพื่อติดตั้งแทน ซึ่งก็เหมือนซื้อหวยที่ต้องคอยลุ้นกันไปว่าจะออกหัวออกก้อย

และหากกลับมามองในแง่ของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเอง แม้มีความพยายามในการควบคุมระบบขนส่งเอง ก็ยังไม่สามารถว่าสมบรูณ์พร้อม เพราะแม้ว่าที่ผ่านมา ทาง กรมการขนส่งทางบก ในฐานะผู้ที่มีบทบาทหน้าที่กำกับดูแล การขนส่งทางถนน ผ่านโครงการต่างๆไม่ว่าจะเป้็นโครงการ “มั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS”

ซึ่งใช้เทคโนโลยี GPS Tracking กับเครื่องรูดบัตรซึ่งเป็นอุปกรณ์บ่งชี้พนักงานขับรถ ที่สามารถแยกประเภทของใบอนุญาตขับขี่ และประเภทรถได้ ทำให้สามารถตรวจสอบว่ามีการใช้ใบอนุญาตผิดประเภทกับรถ หรือ วิ่งด้วยความเร็วที่กำหนดหรือไม่

ซึ่งจะทำให้ทางผู้ประกอบการขนส่ง และกรมสามารถพฤติกรรมของพนักงานขับรถแบบออนไลน์เรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากข้อมูลจะถูกส่งมายังศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ส่วนกลาง ที่กรมการขนส่งทางบก และประชาชน สามารถติดตามรถทุกคันได้โดยผ่านแอพพลิเคชั่น “DLT GPS” บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางกรมทำขึ้น

Smart Transportation

 

หรือโครงการเพื่อกำกับดูแลแท็กซี่ ซึ่งทางกรมได้พัฒนา Application “Taxi OK” ขึ้น ร่วมกับผู้ประการแท็กซี่ เพื่อยกระดับการให้บริการรถแท็กซี่ โดยกำหนดให้แท็กซี่ทุกคันติดตั้ง GPS Tracking อุปกรณ์แสดงตัวผู้ขับขี่ กล้องถ่ายภาพภายในรถ ทำให้ประชาชนเรียกใช้บริการรถทุกคันในสังกัดศูนย์ฯได้อย่างรวดเร็ว และน่าจะช่วยแก้ปัญหาการปฏิเสธของแท็กซี่ลงได้

ทั้งหมดนั้นก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีโครงข่ายเป็นพื้นฐานในการสร้างสิ่งที่เรียกว่า การขนส่งมวลชนอัจริยะ แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่ในระยะของสัญญาณที่ไม่ครอบคลุม และหากตัวพนักงานผู้ขับเองไม่จิตสำนึกก็จะยังเจอปัญหาว่าไม่ทำตามกฏอยู่เสมอไป เพราะอย่างมากก็เป็นการเปรียบเทียบปรับ หรือหักแต้ม

หรือโครงการรถโดยสารประจำทาง (Smart Bus Terminal) ที่หวังเอาไว้ว่าประชาชนจะได้รับทราบข้อมูลเวลาเดินรถ และเวลามาถึงสถานีที่แท้จริงของรถคันที่จะใช้โดยสาร ส่งผลให้สามารถวางแผนการเดินทางได้ดีมากขึ้น จากแอพฯที่จะพัฒนาขึ้น และสะดวกมากขึ้นจากระบบชำระเงินเองได้ผ่านระบบเก็บเครื่องโดยสารอัตโนมัติ (Cash Box) ที่เริ่มกับรถเมย์ร้อน

ล่าสุดก็อย่างที่ทราบกันดีคือ ระบบยังไม่สามารถใช้งานได้ ไม่ผ่านการทดสอบ ทำให้โครงการถูกระงับเอาไว้ที่ 800 คัน จากเดิมที่วางแผนจะติดตั้ง 2,600 คัน ด้วยเหตุผลว่าไม่อยากให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง และจะขอใช้พนักงานเก็บค่าโดยสารต่อไปก่อน พร้อมกับระบบ E-ticket ซึ่งเป็นเครื่องออกตั๋วอัตโนมัติ

และหวังว่าเมื่อมี “บัตรแมงมุม” บัตรเดียวที่ใช้กับระบบขนส่งมวลชนได้ทุกประเภท จะดีขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วไม่รู้ว่าเป็นการแก้ตรงจุดคันหรือเปล่า แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นจะใช้ได้แค่ใน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร เท่านั้น

Smart Transportation

และยังไม่ได้เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าทั้ง BTS MRT และ Airpot Link ก็ตาม เพราะการเชื่อมโยงข้อมูลก็ต้องใช้ระบบโครงข่ายที่ดีมากเพียงพอ ซึ่งตรงนี้ ขสมก. เองที่ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ไม่น่าจะเป็นผู้ลงทุนเอง คำถามคือใครจะกล้าเข้ามาเสี่ยงลงทุนหน่วยงานที่ได้ชื่อว่า รัฐวิสาหกิจ แบบ ขสมก. ที่เชื่อว่าทางกรมการขนส่งทางบก ก็ยังแก้ไม่ตก

ซึ่งหากว่ายังเป็นอย่างเช่นทุกวันนี้ ก็คงต้องกล่าวว่าอยากที่จะไปให้ถึงฝั่งฝัน ดังนั้นสิ่งเราเห็นเรื่องของการพัฒนาระบบขนส่งในวันนี้อาจเป็นเพียง “มโนฝัน” ที่ได้สร้างความหวังไว้อย่างสวยงาม และไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันอย่างแน่นอน

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบตุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่