ทรู ดิจิทัล พาร์ค ชวนผู้บริหาร Start Up ร่วมถกเรื่องของการศึกษาไทย และโจทย์ที่ท้าทาย สำหรับการก้าวไปสู่ยุค 4.0 ในอนาคต เพื่อหาคำตอบว่า นวัฒกรรมเทคโนโลยีจำเป็นหรือไม่สำหรับการศึกษาของไทย
The role of Start Up on the future Education
of Thailand
เมื่อเร็วๆ นี้ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ชวนผู้บริหารสตาร์ทอัพ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ มองการศึกษาไทยและโจทย์ที่ท้าทายสำหรับการก้าวไปสู่ยุค 4.0 ในอนาคตในหัวข้อ “The Future of Education – What did you learn today and how will you use it tomorrow?”
โดยภายในการเสวนาเพื่อหาคำตอบว่าการศึกษาของไทยในปัจจุบันจะสามารถตอบโจทย์โลกในความเป็นจริงได้หรือไม่ และการศึกษาแบบปัจจุบันจะสามารถผลิตทาเลนต์หรือบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้ตรงตามความต้องการของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมในยุค Thailand 4.0 หรือไม่
เพราะคนรุ่นใหม่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศที่จะนำไปสู่นวัตกรรม สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ และอนาคตของไทยในด้านต่างๆ โดย 3 ขุนพลแห่งสตาร์ทอัพด้านการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ ได้แก่ จอนน์ ฟาล (Djoann Fal) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอจาก Getlinks
ธกานต์ อานันโทไทย ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอแห่ง Globish และ เอกฉัตร อัศวรุจิกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง SkillLane และ พิสิษฐ์ นาดี ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ทรู อินคิวบ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ให้ข้อคิดไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
จอนน์ ฟาล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ Getlinks ผู้ให้บริการแพล็ตฟอร์มทางด้านจัดหางาน ตำแหน่งงาน และแวดวงคนทำงานด้
ไม่ว่าจะเป็นทักษะที่ต้องการ หรือองค์กรที่ผู้คนอยากร่วมงานด้วย ทำให้เขามีอิสระที่จะเลือกและเลือกได้ว่าจะทำงานจากที่ใดก็ได้ Getlinks จะไม่ได้ช่วยให้คนหางานได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เขาได้ทำในสิ่งที่ชอบ สิ่งที่รัก การเรียนรู้อาจไม่ได้มาในรูปแบบคอร์สสอนหรือชุมชนที่เรียนกันโดยเฉพาะ
การพบปะพูดคุยกับคนในแวดวงต่างๆ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการค้นหาทักษะที่ต้องการ สอดคล้องกับสิ่งที่ Getlinks ทำคือ การสร้างชุมชนเพื่อให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและความรู้ระหว่างกัน และมีข้อมูลนำมาประมวลได้ว่า ตลาดต้องการทักษะแบบไหน ด้านใด ซึ่งช่วยให้คนสามารถไปพัฒนาต่อยอดได้
ด้าน ธกานต์ อานันโทไทย ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ Globish แพล็ตฟอร์มอีเลิร์นนิ่งสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษ กล่าวว่า ปัจจุบันทักษะในโรงเรียนและตลาดแรงงานนั้น ไม่สอดคล้องกัน (mismatched) น่าจะมีแนวทางที่สร้างสรรค์ (innovative) กว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้ การที่องค์กรต่างๆ
เปิดโอกาสให้ฝึกงานหรือให้ทุนโดยตรงก็เป็นทางเลือกที่ดีในการสนับสนุนให้มีการฝึกทักษะได้ตรงตามต้องการ ส่วน ทรู ดิจิทัล พาร์ค สามารถเข้ามามีบทบาทได้โดยการเป็น ดิจิทัล อะคาเดมี่ รองรับการเรียนรู้ ความต้องการพัฒนาทักษะให้ก้าวทันโลกในปัจจุบัน สอดคล้องกับการขยายตัวของ Skillane แพล็ตฟอร์มคอร์สอบรมออนไลน์
สำหรับคนทำงานที่ใหญ่ที่สุดในไทย ปัจจุบันมีหลักสูตรกว่า 500 หลักสูตรที่มีคนลงทะเบียนเรียนรวม 150,000 คนแล้ว และกำลังจะขยายธุรกิจไปสู่ B2B โดยทำแพล็ตฟอร์มให้องค์กรที่ต้องการเสริมสร้างการเรียนรู้ของพนักงานสามารถเลือกหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว หรือพัฒนาหลักสูตรเองก็ได้
ขณะที่ เอกฉัตร อัศวรุจิกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง SkillLane กล่าวเสริมว่า Skillane ตอบโจทย์คนทำงานที่ต้องการเรียนรู้ โดยเรียนรู้จากที่ใดหรือเมื่อไรก็ได้ สิ่งที่โรงเรียนสอนกับโลกในความเป็นจริงนั้นต่างกัน และโลกปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยเฉพาะโลกของโซเชียลมีเดีย
ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องรอให้สถานศึกษาเปิดคอร์ส เราสามารถหาที่เรียนได้เอง จะเรียนเมื่อไรก็ได้ การศึกษาออนไลน์นั้นสามารถช่วยองค์กรพัฒนาพนักงานได้โดยไม่ต้องเสียต้นทุนในการเดินทางไปเข้าชั้นเรียน
ด้าน พิสิษฐ์ นาดี ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
ซึ่ง ทรู ดิจิทัล พาร์ค เห็นด้วยในบทบาทการทำหน้าที่เป็น “ดิจิทัล อะคาเดมี่” เพื่อตอบโจทย์และเติมเต็มด้านทักษะ โดยเฉพาะการสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่พัฒนาและเรียนรู้ทักษะที่จำเป็น เพื่อก้าวทันหรือเป็นผู้นำด้านต่างๆ ในขณะเดียวกัน ทรู ดิจิทัล พาร์ค ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ Multinational Company, VCs และ สตาร์ทอัพ
ยังสามารถเป็นกระจกสะท้อนและบอกกับสังคมว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมาถึง รวมถึงแนะแนวทางว่าจะต้องเรียนรู้อะไร เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างแรงบันดาลใจ ช่วยให้คนรู้ว่าจะเรียนอะไร เรียนไปทำไม หรือทำให้ค้นพบตัวเองว่าต้องการพัฒนาอะไรจริงๆ ในอนาคต
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่