ในปี 2558 นี้ ประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ พร้อมจะเปิดการค้าเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และในแต่ละประเทศก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ประเทศไทยอาจได้เปรียบในแง่ภูมิศาสตร์ด้านการขนส่งที่สามารถเชื่อมต่อกับหลากหลายประเทศ ขณะที่เวียดนามขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศรับจ้างผลิตซอฟต์แวร์และโมบายล์แอพพลิเคชันจากฟากตะวันตกมากที่สุด สำหรับฟิลิปปินส์ มีชื่อเสียงจากการรับจ้างหรือเอาต์ซอร์สบริการคอลล์เซ็นเตอร์ จนได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการให้บริการคอลล์เซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ไมร่า พิเลา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด Core Technology บริษัทเทรนด์ไมโคร เล่าให้สื่อมวลชนจากประเทศไทยฟังขณะที่เปิดบ้านให้เยี่ยมชมการทำงานว่า สาเหตุที่เทรนด์ไมโครเลือกประเทศฟิลิปปินส์เพื่อตั้งศูนย์วิจัยเฝ้าระวังและตรวจความเคลื่อนไหวไวรัส (TrendLabs) ถือเป็นสำนักงานใหญ่ที่ให้การสนับสนุนทางเทคนิคและการวิจัยพัฒนาในระดับโลก เนื่องจากฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบเรื่องภาษาอังกฤษ มีหลักสูตรการศึกษาเฉพาะด้านและมีจุดเด่นด้านบริการเป็นหลัก โดยศูนย์นี้ยังส่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกัยภัยคุกคามออนไลน์ให้กับศูนย์วิจัยและพัฒนาของเทรนด์ไมโครใน 3 แห่ง คือ ไต้หวัน จีน และญีปุ่น เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ต่อไป
ศูนย์วิจัย (TrendLabs) ที่เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ให้การปกป้องบริษัทชั้นนำกว่า 50 บริษัททั่วโลก มีหน้าที่หลักคือ เฝ้าระวังและตรวจความเคลื่อนไหวไวรัส วิเคราะห์ถึงแนวโน้มและมีการคาดการณ์ว่า ภัยใดจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกโจมตี โดยทางศูนย์ฯจะทำการติดตามตรวจจับภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง และรายงานผลให้กับลูกค้าทันทีเมื่อพิสูจน์พบเจอภัยร้ายไปพร้อมกับการให้การสนับสนุนทางเทคนิคเพื่อปกป้องภัยคุกคามไม่ให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลของลูกค้า โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและทีมวิศวกรกว่า 1,200 คน และยังมีศูนย์สนับสนุนอีกกว่า 13 แห่งใน 11 ประเทศทั่วโลกคอยเฝ้าระวังภัยออนไลน์ ปกป้องข้อมูลบุคคลและองค์กรทั้งบนเว็บไซต์และอีเมล์
สมาร์ตโฟนเป้าหมายใหม่แห่งการโจมตี
ไมร่า กล่าวอีกว่า นับจากนี้เป้าหมายการโจมตีบนไซเบอร์จะพุ่งตรงไปที่บุคคลมากขึ้น (Community Attack) โดยจะเน้นเจาะไปที่ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่หันมาทำธุรกรรมการเงิน หรือซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านมือถือมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจที่มักถูกโจมตีมากที่สุดคือ กลุ่มการเงินการธนาคาร รองลงมาคือ ค้าปลีก ปัจจุบันพบว่าโมบายล์ แอพพลิเคชันอันตรายที่แฝงมากับสมาร์ตโฟนก็มีจำวนเพิ่มมากกว่า 1 หมื่นตัวต่อวัน เนื่องจากปริมาณการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (Mobile Penetrations) กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการโจมตี และช่องโหว่ของเหล่าอาชญกรบนโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะมือถือระบบปฏิบัติการ Android ตามมาด้วย iOS รวมถึงการเติบโตขึ้นของเทรนด์ IoE (Internet of Everything) ภัยอันตรายที่ต้องระวัง
แม้ภัยคุกคามบนออนไลน์จะเปลี่ยนรูปแบบไปมาก ผู้ให้บริการระบบความปลอดภัยอย่าง เทรนด์ไมโคร ก็ไม่สามารถให้ธุรกิจของลูกค้าหยุดทำงานได้ เราต้องการสร้างความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิตอลบนโลกอินเทอร์เน็ต” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด Core Technology บริษัทเทรนด์ไมโคร กล่าว
พัฒนาการรูปแบบของภัยคุกคาม
สำหรับสถานการณ์ภัยคุกคามของประเทศไทยในปี 2014 นั้น ไวรัส มีพัฒนาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น และพบว่าเว็บหลอก Mailicious มีอัตราการเติบโตมากที่สุด โดย Mailicious จะส่งลิ
ก์ผ่านอีเมล์หรือเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้คลิกเพื่อส่งตรงไป Mailicious เว็บไซต์เพื่อทำการขโมยข้อมูลสำคัญ นอกจากนี้ ยังพบมัลแวร์ประเภท DOWNAD, GAMARUE, SALLITY ซึ่งเป็นไวรัสติดอยู่กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอกซ์พี ซึ่งในเมืองไทยยังมีการใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก และยังไม่มีการอัพเกรดระบบปฏิบัติการใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ไม่มีการปรับเปลี่ยน
ขณะที่ภัยคุกคามบนโมบายล์เองก็มีไวรัสเพิ่มากขึ้นถึง 2.3 ล้านตัวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2014 รวมไปถึงพวก Adware ลิงคฺ์ที่หลอกให้คลิกนำฟรีแวร์ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น OPENCANDY, SOMOTO และ INSTALLCORE อันสุดท้ายคือ Ransomware ไวรัสเรียกค่าไถ่ เป็นไวรัสที่เข้ารหัสไฟล์ในเครื่องพีซี เพื่อค้นหาข้อมูลพร้อมเปลี่ยนชื่อและนามสกุลไฟล์เพื่อเรียกค่าไถ่จากเจ้าของไฟล์
แนวโน้มในปี 2015 เหล่าบรรดแฮกเกอร์พุ่งเป้าโจมตีไปที่ช่องโหว่ของโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์และเว็บ แอพพลิเคชัน เนื่องจากนักพัฒนามักนำซอฟต์แวร์เวอร์ชันเก่ามาทำใหม่ก่อให้เกิดช่องโหว่ในการโจมตีได้ รวมถึงไวรัสบนโมบายล์ แอพพลิเคชัน โดยมีการคาดการณ์ว่า Malicious ของแอนดรอยด์จะเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดดจะมีจำนวนมากกว่า 8 ล้านรูปแบบในปี 2015 เหตุผลเพราะผู้ใช้สมาร์ตโฟนแอนดรอยด์เพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้การทำธุรกรรมออนไลน์โมบายแบงก์กิ้งก็จะเป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีด้วยเช่นกัน
งมาก