Cashless Society
คริส คลาร์ก ประธานบริหาร ของวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวเปิดงานประชุมสุดยอดความมั่นคงทางการรักษาความปลอดภัยในระบบชำระเงินของวีซ่า ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Visa Asia Pacific Security Summit) ณ ประเทศสิงคโปร์ ด้วยหัวข้อเรื่อง อนาคตของระบบชำระเงิน

วีซ่า เผยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Visa Asia Pacific Security Summit) คือกลุ่มประเทศไที่ตื่นตัวเรื่องของสังคมไร้เงินสดมากที่สุด (Cashless Society) และกำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการชำระเงินรูปแบบดิจิตอลของโลก แต่เน้นควรให้ความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยในระบบการชำระเงินมากขึ้น

Asia Pacific Cashless Society Leader

ในงานประชุมสุดยอดความมั่นคงทางการรักษาความปลอดภัยในระบบชำระเงินของวีซ่า ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Visa Asia Pacific Security Summit) ที่ผ่านมา วีซ่าเน้นย้ำถึงความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยในระบบการชำระเงิน ในขณะที่ภูมิภาคกำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการชำระเงินรูปแบบดิจิตอลของโลก

โดยทางวีซ่า เผย สาเหตุหลักของความนิยมในสังคมไร้เงินสดในภูมิมภาคนี้เกิดขึ้นจาก การขยายตัวของแหล่งชุมชน (Urbanization) และจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 ปัจจัยหลัก ที่ช่วยผลักดันให้การชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Cashless Society

โดยครึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในหัวเมืองหลัก และมากกว่า 2 ใน 3 (1.3 ล้านราย) จาก 1.9 พันล้านราย ในเอเชียแปซิฟิกเข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเอเชียแปซิฟิก และมียอดปริมาณการชำระเงินมากถึง 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

โดยที่ในปัจจุบันมากกว่า 55% ของการทำธุระกรรมการชำระเงินในรูปแบบของเงินสด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีเงินกว่า 6.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอล ในขณะที่นวัตกรรมใหม่ๆได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างเสริมประสบการณ์การชำระเงินที่ดีให้กับผู้บริโภค

แต่กระนั้นก็ตาม กุญแจสำคัญในการทำให้การชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลนั้นขยายวงกว้างออกไปคือการผนวกความปลอดภัยเข้ากับการใช้งานที่สะดวก ยิ่งระบบนิเวศของระบบการชำระเงินเติบโตเร็วเท่าใด ความปลอดภัยยิ่งต้องเข็มแข็งขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกันต้องไม่ส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายในการใช้งานต่อทั้งร้านค้า และผู้บริโภค

Cashless Society
โจ คันนิ่งแฮม ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการความเสี่ยงของวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

มร.โจ คันนิ่งแฮม ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการความเสี่ยงของวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ในอดีตนั้นความปลอดภัยในระบบการชำระเงินกับความสะดวกในการใช้งานเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกันในทางปฏิบัติ แต่ในปัจจุบันเรามาถึงจุดที่การรักษาความปลอดภัยถูกฝังอยู่ในกระบวนการความปลอดภัย

นอกจากจะมาพร้อมกับความสะดวกสบายแล้ว ยังจะสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆได้อีกด้วย ซึ่ง วีซ่า มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างให้ระบบปฏิบัติการของเรามีความปลอดภัยในระดับสูงสุด และผลักดันให้อุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากลทั่วโลก อาทิ ชิพการ์ด (อีเอ็มวี) โทเคนไนเซชั่น (Tokenization)

และการเข้ารหัสข้อมูลแบบพ้อยท์ ทู พ้อยท์ (point-to-point encryption) สำหรับในประเทศไทยเราพบว่า 75% ของการทำธุรกรรมยังคงเป็นในรูปแบบเงินสด อย่างไรก็ดี ด้วยจำนวนของผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยีที่รองรับการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless payment) ที่แพร่หลายกว่าเดิม

จะช่วยให้การชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การชำระเงินในซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านกาแฟ โรงภาพยนต์  ซึ่งเราหวังว่าจะสามารถช่วยเสริมความสำคัญของการใช้วิธีการตามมาตรฐานสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ และใช้หลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกันเพื่อเสริมความปลอดภัย สร้างความน่าเชื่อถือ

และการทำงานร่วมกันอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของระบบนิเวศสามารถใช้ประโยชน์ และทำงานร่วมกันได้ นอกจากนั้นเราต้องการสร้างความรับรู้ถึงมาตรฐานที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายในระบบนิเวศการชำระเงินสามารถปรับเปลี่ยนและใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุดได้ง่ายขึ้น

โจ คันนิ่งแฮม ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการความเสี่ยงของวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เอลเลน ริชชี่ รองประธานกรรมการ และ ประธานคณะเจ้าหน้าที่การบริหารความเสี่ยงของวีซ่า บรรยายถึงภาพรวมระบบการชำระเงินในมุมมองด้านความเสี่ยงระดับโลก (Payment System Landscape – A Global Risk View) ณ งานประชุมสุดยอดความมั่นคงทางการรักษาความปลอดภัยในระบบชำระเงินของวีซ่า ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่