จากกรณีที่ได้มีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ดีแทค (dtac) ได้บรรลุข้อตกลงในการเช่าใช้คลื่น 2300 MHz จาก ทีโอที (tot) แล้ว และเตรียมที่จะให้บริารบนคลื่นความถี่ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีหลายคนสงสัยไม่น้อยว่าแล้ว ตกลง 4G LTE-TDD มันดีกว่า 4G LTE ยังไง และจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง เอาล่ะมาไขข้อสงสัยกัน
What is 4G LTE-TDD?
หลายคนทราบว่าทีโอทีกับดีแทคเซ็นสัญญากันเพื่อนำคลื่นใหม่ 2300 MHz มาเปิดให้บริการ 4G LTE-TDD ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และกำลังจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก
แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าคลื่นใหม่มีดีกว่าอย่างไร ทำไมหลายๆ ประเทศที่ประชากรรวมกันหลายพันล้านคนอย่างจีนและอินเดียเลือกใช้ อธิบายให้ลองนึกภาพตาม คลื่นก็เหมือนให้เหมือนถนนมีหลายช่องจราจร รถวิ่งสวนทางสองฝั่งถนนในจำนวนช่องทางเท่าๆ กัน
แต่จะดีกว่าหรือไม่ เพราะช่วงเวลาแต่ละวันมีรถใช้งานสองฝั่งไม่เท่ากัน ตอนเช้าฝั่งเข้าเมืองรถมาก แต่ตอนเย็นเป็นฝั่งออกนอกเมืองเพราะคนกลับบ้าน คลื่นเองก็ต้องมีสองฝั่งทั้งรับ และส่งดาต้านั่นเอง คลื่น 2300 MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่มีขนาดกว้างที่สุด คือมีขนาด 60MHz กว้างเป็นผืนเดียว ไม่มีการตัดแบ่งจากกัน
ดังนั้นถ้านำมาให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จะให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด หากยังนึกไม่ออกลองจินตนาการเหมือนถนนขนาด 8 เลน ไม่ต้องแบ่งขาเข้า-ขาออก อย่างละครึ่ง แต่สามารถแบ่งได้ตามความต้องการ เช่น ตอนเช้าคนใช้รถเข้าเมืองมากกว่า
ซึ่งหากเราจะแบ่งถนนขาเข้า 7 เลน และขาออกแค่ 1 เลน หรืออาจปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาเพื่อความสะดวกคล่องตัวและเหมาะสมกับการใช้งาน คิดง่ายๆ ว่าถ้ายืนอยู่กลางย่านสยาม ที่มีคนจำนวนมหาศาล ทุกคนใช้งาน Facebook, YouTube หรือ Google พร้อมกัน หรือพูดง่ายๆ ถ้าทุกคนกำลังดู LIVE ผ่านสมาร์ทโฟน
นั่นคือการใช้งานขา Downlink มากมายมหาศาลพร้อมกันจนคลื่นไม่พอ แต่ขา Uplink กลับมีพื้นที่เหลือไม่ค่อยมีคนใช้งาน แต่ถ้าปรับสลับกันโดยนำพื้นที่ที่เหลือของ Uplink มาใช้งานเพิ่มให้กับขา Downlink ด้วยล่ะ จะดีกว่าแน่นอน
คอนเทนต์ทุกอย่างจะวิ่งลื่นขึ้น นี่คือ ผลลัพธ์ที่แตกต่างของการใช้งานคลื่นความถี่ 2300 MHz แต่จะทำแบบนั้นได้ ต้องใช้งานบนเทคโนโลยีที่เรียกว่า 4G LTE-TDD
4G LTE – TDD เทคโนโลยีที่ทำให้ข้อมูลวิ่งด้วยความเร็วสูง
อธิบายแบบเทคนิคซักนิด เทคโนโลยีบนคลื่นความถี่ต่างๆ แบบเดิมคือ เทคโนโลยี FDD (Frequency Division Duplex) ใช้ให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 และ 2100MHz เทคโนโลยีนี้เดิมถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการด้านเสียง (Voice) เป็นหลัก
มีการแบ่งใช้งานคลื่นความถี่เป็นรับข้อมูล หรือ Downlink และ ส่งข้อมูล หรือ Uplink โดยต้องแบ่งเท่าๆ กัน เช่น คลื่นความถี่ 2100MHz ที่ให้บริการ 4G ในประเทศไทย หรือ เรียกว่า 4G LTE-FDD แบ่งเป็น Downlink 15MHz และ Uplink 15MHz เท่าๆ กันเป็นข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่ไม่สามารถขยับคลื่นได้
ดังนั้นถ้าพื้นที่มีการรับข้อมูล Downlink ปริมาณมาก อินเทอร์เน็ตก็จะช้าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าการใช้งาน Downlink จะใช้มากกว่า ซึ่งถ้า Downlink ใช้งานมากกว่า Uplink เราจะให้สัดส่วนคลื่นทาง Downlink มีจำนวนมากกว่าเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่มากกว่า
สำหรับ TDD (Time Division Duplex) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยเฉพาะ ใช้งานทั้งรับและส่งข้อมูลบนคลื่นความถี่ผืนเดียวกัน ไม่ต้องแบ่งแบบ FDD หรือแบบคลื่นความถี่เดิม ถ้ายิ่งมาใช้ 4G LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300 MHz ซึ่งกว้างที่สุดถึง 60 MHz
จึงมีความยืดหยุ่นสูง ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และปรับให้เข้าได้กับแต่ละพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ไม่ใช่แค่มีถนนกว้าง 8 เลนเท่านั้น แต่สามารถปรับเปลี่ยนขาเข้า (รับข้อมูล) และขาออก (ส่งข้อมูล) ได้ตามความกว้างเหมาะสมกับการใช้งานจริง นี่คือ 4G LTE-TDD
กล่าวได้ว่า 4G LTE-TDD เป็นเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานทั่วไป รองรับการแข่งขันทางธุรกิจ และรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และยังเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ต่อยอดไปสู่เทคโนโลยี 5G ในอนาคตอีกด้วย
What is dtac used for?
แน่นอนว่าการที่ ดีแทค ได้คลื่น 2300 MHz นี้มา ก็ย่อมทำให้ปัญหาในเรื่องของการรับชม คอนเทนต์ รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนัง เพลง คือการเข้าเว็บไซต์ที่มีไฟส์ภาพเยอะๆ ที่ช้า อึดเป็นเต่า กระตุกๆ หมุนติ้วๆ (อย่างที่ดีแทคประสบมาตลอดเวลา) น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
เพราะต้องไม่ลืมว่า นี่คือยุคที่เรากับอยู่บนโลก ที่คนดู คอนเทนต์ ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตกันหมดแล้ว ผู้ใช้ยินยอมที่จะจ่ายค่าแพ็กเกจที่แพงขึ้นเพื่อแลกกับความสะดวกในการรับชมในสิ่งที่ดูเองต้องการ จากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ลองนึกสภาพว่าช่วงที่ผ่านมา
กระแสละครดังแห่งปี “บุพเพสันนิวาส” ที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอดู แม่การะเกด (เบลล่า ราณี) โล้สําเภากับ คุณพี่หมื่น (โป๊ป ธนวรรธน์) (อุ๊บ!! เปลี่ยนๆ) รอดูแม่การะเกดสะดุดขาตัวเองซบพี่หมื่น เหมือนคนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตลอดเวลา แต่ต้องเจออาการกระตุกๆของเน็ตมือถือ ทำให้ความฟินจิกหมอน ขาดช่วง มันน่าหงุดหงิดแค่ไหน
จนแทบจะย้ายค่ายหนีเลยเพื่อให้ได้ความฟินเเบบเต็มๆ การกล่าวเช่นนี้อาจจะเกินจริงไปบ้าง แต่เชื่อว่าสำหรับคนที่ชอบเสพคอนเทนต์ผ่านมือถือ นี่ไม่เรื่องเล่นๆ และหากไม่กล่าวอ้างถึง และไม่มองกันที่ตัวเลข ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะเมื่อปีที่แล้ว
ยูทูบ (youtube) ก็ออกมายันแล้วว่าประเทศไทยคือประเทศที่คน ชมวิดีโอบนยูทูบผ่านมือถือของคนไทยเพิ่มสูงถึง 90% ขณะที่การอัพโหลดเนื้อหาวิดีโอบนยูทูบเพิ่มขึ้นเกือบ 170% ทำให้ไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ ที่มียอดเวลาการเข้าชมวิดีโอบนยูทูบมากที่สุดในโลก สะท้อนว่าพฤติกรรมการใช้เดต้า มีแต่เพิ่มขึ้นๆ
ซึ่งการที่ดีแทคได้คลื่น 2300 MHz มา น่าจะทำให้ดีแทคกลับมาสู่เกมส์การแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เพราะจะมีช่วงคลื่นที่มากพอที่จะให้บริการแก่ลูกค้าของตัวเอง ไม่ต้องอยู่ในภาวะเหนื่อยเหมือนในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่