ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing, Mobility, Big Data & Analytics, Internet of Things (IoT), 3D Printing Cognitive และ AI / Machine Learning, Analytics, Augmented Reality/Virtual Reality (AR/VR) ในปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นเพียงมโนภาพ แต่เกิดขึ้นจริงแล้วในหลาย Business ของแต่ล่ะอุตสาหกรรม….
ซึ่งหากธุรกิจไม่ออกจากโซนที่ปลอดภัยของธุรกิจ (Comfort zone) เพื่อเปลี่ยนแปลง และพร้อมปรับตัวรับความความท้าทายใหม่ ๆ ด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกับธุรกิจของตนเอง ก่อนที่จะสายเกินไป และทำให้ธุรกิจล่มสลายไปในที่สุด เพราะเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ผู้บริโภคมี เพาเวอร์ หรือมีพลังมากพอที่ชี้ชะตาของธุรกิจต่างๆได้ช่วงเวลาไม่กี่เดือน
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพียงช่วงข้ามคืน แต่หากไม่เริ่ม หรือเริ่มช้ากว่าย่อมหมายถึงโอกาสที่จะปรับกลยุทธ์ได้ทันต่อการตลาดยุคใหม่ก็ช้าไปด้วยเช่นกันแม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นการตื่นตัวใน ธุรกิจต่างๆในไทยมากขึ้น และมีการลงทุนทางเทคโนโลยีกัน มากขึ้นแต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
Business “Do or Dies”
การเปลี่ยนแปลงใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ ในวันนี้มีผลอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดในปัจจุบัน เพราะการทำธุรกิจนั้น ไม่ใช่ เพียงรอ รวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผล แล้วค่อยทำ แต่ต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเต็มไปด้วยประสิทธิภาพอีกด้วย
หากมองการทำธุรกิจในอดีตข้อจำกัดคือไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากจะต้องผ่านกระบวนการ และขั้นตอนเยอะ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อความผิดพลาดได้ง่าย เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องใช้แรงงานของคนหรือกลุ่มคน เพื่อวิเคราะห์ หาบทสรุป เพื่อวางกลยุทธ์ ซึ่งหากใช้วิธีอย่างเช่นในอดีตกระบวนการดังกล่าวจะไม่ทันต่อการแข่งขันอย่างแน่นอน
เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นกับ โกดัก ที่แทบหายไปจากตลาด อันเนื่องมาจากการยึดติดกับความสำเร็จในอดีต และปล่อยให้กล้องดิจิทัลจะเข้ามาเปลี่ยนโลกการถ่ายภาพ จนเมื่อเริ่มตะหนักว่าไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้วจึงพยายามกระโจนเข้าสู่โลกดิจิตอลอย่างจริงจังมากพอ
ที่กล่าวเช่นนนี้เพราะในความเป็นจริงแล้ว โกดัก ได้ทุ่มงบในการพัฒนากล้องดิจิทัล และมีการเข้าซื้อเว็บไซต์สำหรับแชร์ภาพถ่าย ที่ชื่อ Ofoto ไปเมื่อปี 2001 ซึ่งมันเป็ยยุคก่อนที่จะเกิด เฟชบุ๊ก (facebook) ซะด้วยซ้ำ ซึ่งถ้า ณ เวลานั้นโกดักมองภาพให้ไกลว่าโลกจะก้าวมาถึงยุคที่โทรศัพท์จะกลายเป็นมากกว่าอุปกรณ์โทรเข้าหรือโทรออก
ไม่แน่ว่าบางที โกดัก อาจจะกลายเป็นผู้นำอยู่ แต่สิ่งที่โกดักทำคือการใช้ กลับใช้ Ofoto เพื่อส่งเสริมให้คนอัดภาพถ่ายจากไฟล์ดิจิทัลเท่านั้น จนทุกอย่างก็สายเกินไป และทำให้จนต้องล้มกิจการที่เคยสร้างชื่อให้ตัวเองลง
เรื่องของผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลนี้ไม่ใช่ เพียงโกดักเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แม้แต่ อินเทล ผู้ผลิตชิพพีซีอันดับหนึ่งของโลก ก็เกือบประสบปัญหาธุรกิจมาแล้วเช่นกันเพราะลืมคิดถึงอนาคต ในวันที่สมาร์ทโฟนเติบโตมากขึ้นจนเกิดจากที่คาดการณ์ จนต้องชะลอการผลิต ชิปประมวลผล ในส่วนของสมาร์ทโฟนลง
Beginning Transformation
โดยเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ไอดีซี (IDC) ได้ออกมาเผยว่า การทำ ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น ขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น จะเข้าสู่ระดับเศรษฐกิจมหภาคในอีก 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่บริษัทดำเนินการ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเศรษฐกิจโลกในที่สุด
สำหรับประเทศไทย ในปี 2560 เราได้เห็นองค์กรธุรกิจต่างๆ เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีเผื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และดำเนินธุรกิจของตน โดยเชื่อว่าภายในปี 2563 30% ของผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัท ของไทย จะพบว่าธุรกิจของตนเอง จะอยู่รอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ
และการสร้างประสบการณ์การใช้งานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลกับลูกค้าของตนในรูปแบบใหม่ๆ แม้ว่าปัจจุบันการทรานฟอร์เมชั่นธุรกิจ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการไทยนั้นยังอยู่ในระดับ “โครงการริเริ่ม” ก็ตาม แต่ด้วยการผลักดันของรัฐบาลไทยสู่การเป็น “ประเทศไทย 4.0” (Thailand 4.0) ในวันนี้ทำให้ องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องออกมาจากรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเดิมของตนเองอย่างเร่งด่วน
โดย 60% ของการบริการซัพพอร์ตลูกค้า ในอนาคตจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล และเกิดขึ้นในสังคมออนไลน์เป็นหลัก และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องการสร้าง “ประสบการณ์ต่อแบรนด์” ที่ดีไปกว่าแค่บริการทั่วไป เนื่องจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้โซเชียลมีเดียของไทย ที่มีปัจจุบันมีจำนวนเกิน 40 ล้านคน และมีท่าทีว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และเมื่อโลกก้าวสู่ยุคของ “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หรือ IoT อย่างเต็มรูปแบบเมื่อใด สิ่งที่จะตามมาคือ “จำนวนข้อมูลที่มหาศาล” หรือที่เรียกว่า บิ๊ก เดต้า (Big data) ซึ่งจะมาจากหลายๆ ที่ หลายๆอุปกรณ์ ซึ่งการจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มหาศาลที่เกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นอย่างยิงที่องค์กรธุรกิจต่างๆ
ต้องเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีขององค์กรให้พร้อมรับมือกับคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังซัดเข้าหาธุรกิจอย่างไม่หยุดหย่อน โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆสร้าง โมเดลธุรกิจ (Business Model) ใหม่ๆ รวมไปถึงใช้สนับสนุนการดำเนินการ (Operation) เช่น การเปลี่ยนจากการบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษให้กลายเป็นการจัดการข้อมูลบนคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ
ช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม Productivity รวมไปถึงนำเสนอสิ่งตรงใจใจผู้บริโภคมากขึ้น (Customer Experience) เช่น หลังจากลูกค้าจองตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศ ก็ให้แสดงผลโฆษณาโรงแรม และแพ็คเกจท่องเที่ยวสุดพิเศษในประเทศนั้นๆ ซึ่งหากทำได้ก็จะเป็นการสร้างประสบการณ์ และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างมหาศาล
สำหรับหลายๆท่านที่สงสัยว่าแล้วหากต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองให้สามารถก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลได้ ควรจะเริ่มต้นอย่างไร และจะต้องใช้งบประมาณเท่าไร นั้น ผมขอยกไปพูดคุยใน “ก้าวออกมาจาก Comfort zone ด้วยการใช้ IT : ตอนที่ 2” นะครับ
บทความจากกองบรรณาธิการ E-Leader