Human

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลทำให้องค์กรเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีแทนที่มนุษย์ (Human) แต่ในความจริงแล้วเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถแทนมนุษย์ได้ทุกเรื่อง…

highlight

  • ผู้สมัครงานไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ แต่ยังเป็นผู้ประเมินผู้ที่สัมภาษณ์ด้วยเช่นกัน โดยผู้สมัครงานส่วนใหญ่ จะประเมินในเรื่องดังต่อไปนี้ 1.ผู้ที่สัมภษณ์มีความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงาน 2.มีความเข้าใจในองค์กร และอุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งทั้ง 2 ด้านจะเป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือมากที่สุด

มนุษย์ (Human) ยังสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ

ปัจจุบันแม้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสรรหาบุคลากรเข้าสู่องค์กรอย่างต่อเนื่อง แต่ผลสำรวจที่ได้มีมีการเปิดเผยจาก บริษัทผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์กรชั้นนำระดับโลก อย่าง คอร์น เฟอร์รี่ ระบุว่า ผู้หาบุคลากร หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และผู้สมัครงาน ต่างเห็นตรงกันว่า

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ และสามารถตอบสนองอย่างเหมาะสมยังมีความสำคัญ ต่อการสร้างประสบการณ์การสมัครงานเชิงบวกแก่ผู้สมัครงาน เพื่อการค้นหาบุคลากรที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร โดยผลสำรวจในเรื่อง ความคิดเห็นจากกลุ่มผู้สมัครงาน

และผลสำรวจจากกลุ่มฝ่ายทรัพยากรบุคคล (ผู้สมัครงาน 90% และฝ่ายทรัพยากรบุคคล 80%) ต้องเห็นตรงกันว่า การที่ผู้สมัครงานรู้สึกชื่นชมในตัวฝ่ายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ตนกำลังพูดคุยอยู่ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก หรือมีความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ 

นอกจากนี้การสำรวจทั้ง 2 ฉบับ ยังพบว่า ผู้สมัครงานไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ แต่ยังเป็นผู้ประเมินผู้ที่สัมภาษณ์ด้วยเช่นกัน โดยผู้สมัครงานส่วนใหญ่ จะประเมินในเรื่องดังต่อไปนี้ 1.ผู้ที่สัมภษณ์มีความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงาน 2.มีความเข้าใจในองค์กร และอุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่ ทั้ง 2 ด้านจะเป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือมากที่สุด

โดย 53% ของผู้สมัครไม่สามารถรับได้หาก ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ตัดการติดต่อ และไม่มีคำอธิบาย ให้โดยผู้สมัครงานต้องการให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ตอบกลับ หรือแจ้งให้ทราบว่ากระบวนการว่าจ้างกำลังดำเนินอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งหากผู้สมัครงานต้องตัดสินใจเลือกระหว่างข้อเสนองาน 2 แห่ง 

สิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรพูดคุยคือ เพราะเหตุใดข้อเสนองานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล จึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้สมัครงานมากกว่าแห่งอื่น ขณะที่มีเพียง 5% ของผู้สมัครงานที่จะพิจารณาเรื่องของเงินตอบแทนที่มากกว่าในการรับข้อเสนอจ้างงาน

ขณะที่เหตุผลสำคัญที่สุดว่าเพราะเหตุใดผู้สมัครงานจึงหางานใหม่ ผู้สรรหาบุคลากรตอบว่า เหตุผลหลัก ๆ คือต้องการตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ความรับผิดชอบที่มากขึ้นในฐานะบุคลากรระดับสูง ตามมาด้วยเงินเดือน ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ และปัญหาความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน

นอกจากนี้ ยังมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในการหาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว โดยต่างคาดหวังอย่างมากว่าจะมีอิสรภาพ และความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากขึ้น ขณะที่เมื่อสำรวจค่าตอบแทนในอุตสาหกรรมทั่วไป พบว่า ในประเทศไทย อัตราการลาออกอยู่ที่ 11%

โดยอุตสาหกรรมที่ประสบกับอัตราการลาออกของพนักงานมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก และเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนอุตสาหกรรมที่มีอัตราการลาออกของพนักงานต่ำสุด คือ ธุรกิจภาคพลังงาน 

Human

ทาเนีย เบอร์เจอร์ส หัวหน้างานฝ่ายตลาด ธุรกิจการแสวงหาบุคลากร คอร์น เฟอร์รี่ ประเทศไทยและอินโดนีเซีย ให้ความเห็นว่า วันนี้เทคโนโลยีอาจช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถสรรหาบุคลากรผู้มีพรสวรรค์เข้าสู่องค์กรได้มากมาย เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการแสวงหาผู้สมัครงานที่ดีที่สุดกับหน้าที่งานหนึ่ง ๆ

แต่การมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้จัดการฝ่ายการว่าจ้าง ก็สามารถส่งเสริม หรือสร้างประสบการณ์ที่แย่ ๆ ของผู้สมัครงานได้ ซึ่งหมายถึงการที่องค์กรธุรกิจจะได้คนที่ต้องการให้มาทำงานภายในองค์กร หรือไม่ได้คนที่ต้องการเลยก็ได้ หากขาดความระมัดระวังในเรื่องดังกล่าว

“แนวคิดที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติต่อผู้สมัครเหมือนเป็นลูกค้าของบริษัท เมื่อพวกเขามาสมัครงาน เพราะไม่ว่าคุณจะใช้เทคดนดลยีในการสรรหาบุคลากรที่มีมีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน แต่การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสนทนายังคงเป็นประเด็นหลักที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่เททคโนโลยีไม่สามารถทำแทนได้” ทาเนีย กล่าว

*เกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็นทั่วโลก 2 ฉบับ ซึ่งสอบถามจากผู้สมัครงานและผู้สรรหาบุคลากรมืออาชีพ ดำเนินงานในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ.2019 และรวบรวมคำตอบจากผู้สมัครงาน 830 คน และผู้สรรหาบุคลากร 161 คนทั่วโลก โดยการปัดเศษจำนวนเต็มอาจทำให้อัตราร้อยละต่าง ๆ รวมกันไม่เท่ากับ 100

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก www.pexels.com, www.pixabay.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage