NIA

เอ็นไอเอ (์NIA) ติดเครื่องความร่วมมือนวัตกรรมร่วมกับออสเตรเลีย เดินหน้าปั้นไลฟ์สไตล์เทค หวังช่วยหนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่สู่ธุรกิจสตาร์ทอัพ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ ร่วมกับ QUT Creative Enterprise Australia  หรือ QUT CEA จากประเทศออสเตรเลีย เตรียมดำเนินความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมระหว่างไทย และออสเตรเลีย สร้างไลฟ์สไตล์เทค สตาร์ทอัพ

NIA เดินหน้าปั้นไลฟ์สไตล์เทค

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านสตาร์ทอัพและนวัตกรรมไทยให้มีการเติบโตในระดับที่สูงขึ้น เอ็นไอเอ จึงได้ดำเนินความร่วมมือกับ QUT Creative Enterprise Australia หรือ QUT CEA

หน่วยงานส่งเสริมด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์จากประเทศออสเตรเลีย โดยวัตถุประสงค์ของการร่วมมือกันในครั้งนี้มีความมุ่งหวังในการร่วมกันผลักดันให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ พร้อมด้วยการส่งเสริมสตาร์ทอัพของทั้งสองประเทศให้มีการเติบโตที่ดีขึ้นในระดับนานาชาติ

รวมไปถึงการช่วยให้ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพของไทยและออสเตรเลียได้มีโอกาสเข้าถึงตลาดของแต่ละประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น

หลังจากการที่ประชุมร่วมกันระหว่าง เอ็นไอเอ และ ซีอีเอ พบว่าทั้งสองหน่วยงานมีโปรแกรมการส่งเสริมด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ และได้ข้อสรุปความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตดังนี้

 

NIA

การสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยและออสเตรเลียให้มีความเข้าใจในบริบทการทำธุรกิจ ตลาด และความเป็นไปได้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ใน 2 ประเทศ โดย เอ็นไอเอ จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมของออสเตรเลียให้เข้าถึงตลาดในประเทศไทย

ได้ง่ายขึ้นด้วยการผลักดันการใช้สมาร์ทวีซ่า (Smart VISA) พร้อมช่วยให้เข้าถึงตลาดที่มีศักยภาพอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการให้องค์ความรู้ ความเข้าใจ และการอาศัยโอกาสจากประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง

ส่วนทางด้านออสเตรเลียก็จะให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่จะมีการนำผู้เชี่ยวชาญ หรือสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในระดับโลกให้ได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้เชิงเทคนิคและประสบการณ์แก่ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพของไทย

ซึ่งถือเป็นโอกาสที่สำคัญที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพไทยได้เรียนรู้โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ๆที่ต่างไปจากเดิม พร้อมช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษา รวมทั้งความเป็นสากลให้เกิดขึ้นในธุรกิจ

การสนับสนุนด้านระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพทั้งในไทยและออสเตรเลียไม่ว่าจะเป็น Co – Working Space ห้องแล็ปหรือสถาบันเพื่อการวิจัยและทดลองต่างๆ การสรรหาความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนเพื่อเติมเต็มการเติบโตของผู้ประกอบการ ไ

ม่ว่าจะเป็น สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน ภาครัฐ ภาคเอกชน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังจะมีการผลักดันให้เข้าถึงเงินทุนสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมและสตาร์ทอัพจากภาคธุรกิจเอกชน (Accelerator) เพื่อให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจจัดตั้งธุรกิจได้มีช่องทางทางการเงินที่กว้างและหลากหลายมากขึ้น

การส่งเสริมธุรกิจหรือกิจกรรมเกี่ยวข้องกับด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Tech) ทั้งธุรกิจสื่อบันเทิง ธุรกิจแฟชั่น เทคนิคการถ่ายภาพ ดนตรี ภาพยนตร์ โทรทัศน์ดิจิทัล เกมส์ รวมถึงการสร้างเนื้อหาคอนเทนท์เพื่อการค้า

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปี CEA ถือว่ามีความเชี่ยวชาญและสนับสนุนสตาร์ทอัพในด้านดังกล่าวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1000 ราย ซึ่งหาก เอ็นไอเอ ได้เกิดความร่วมมือกับ CEA ในระดับที่เข้มข้นขึ้น เชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจด้านไลฟ์สไตล์หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องของไทยมีการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

การสนับสนุนโปรแกรมผลักดันเยาวชนให้เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม และสตาร์ทอัพ ซึ่งความร่วมมือนี้จะมุ่งเน้นกระบวนการการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในระดับมหาวิทยาลัยได้เห็นถึงความสำคัญ และการประสบความสำเร็จจากการเป็นผู้ประกอบการหรือการทำงานด้านนวัตกรรม

โดย เอ็นไอเอ จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยในเครือข่ายทั้ง 47 แห่งของไทย ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรมส่งเสริมทั้งไทยและออสเตรเลียให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสามารถทางเทคโนโลยี (Tech Talent) การนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆจากออสเตรเลีย

เข้าสู่การเรียน การสอน และการปฎิบัติงานในมหาวิทยาลัย การส่งเสริมเยาวชนที่มีความสนใจในการจัดตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ

ได้มีโอการเรียนรู้โมเดลที่มีความแปลกใหม่จากออสเตรเลีย รวมถึงการผลักดันกลุ่มเยาวชนภายใต้โปรแกรม STEAM 4 Innovator , Founder Apprentice , Thailand Innovation Awards , NIA Academy และอื่นๆของ เอ็นไอเอ ให้เข้าถึงตลาดออสเตรเลียได้เช่นกัน

ออสเตรเลีย ถือเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่สำคัญในการสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติของ NIA เนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นเมืองชั้นนำของโลกในด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพโดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่อยู่ในระดับท็อป 3 ของโลก

อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตไทยและออสเตรเลียมีความร่วมมือเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและจริงจังมากขึ้น คาดว่าจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อีก อาทิ การนำต้นแบบจากมหานครชั้นนำสู่การพัฒนาย่านนวัตกรรมในไทย

NIA
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และงานวิจัย องค์ความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการในระบบการศึกษา การพัฒนาธุรกิจบริการ การผลักดันเมืองที่สำคัญทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคสู่การเป็น Startup Ecosystem ซึ่งมีตัวอย่างจาก ซิดนีย์ และเมลเบิร์นที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นประกอบด้วย

  1. การสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยและออสเตรเลียให้มีความเข้าใจในบริบทการทำธุรกิจ ตลาด และความเป็นไปได้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ใน 2 ประเทศ
  2. การสนับสนุนด้านระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ
  3. การส่งเสริมธุรกิจหรือกิจกรรมเกี่ยวข้องกับด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านไลฟ์สไตล์
  4. การสนับสนุนโปรแกรมเพื่อผลักดันเยาวชนให้เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมและสตาร์ทอัพ

นอกจากนี้ หากในอนาคตไทยและออสเตรเลียมีความร่วมมือเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและจริงจังมากขึ้น คาดว่าจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อี

เช่น การพัฒนาย่านนวัตกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และงานวิจัย การผลักดันเมืองที่สำคัญทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคสู่การเป็น Startup Ecosystem

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่