ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เดินหน้าโชว์นวัตกรรมด้านระบบสาธารณูปโภคของระบบราง สานความต่อเนื่องให้ระบบพลังงานในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าระบบราง …
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จัดทัพ EcoStruxure ด้านระบบสาธารณูปโภคของระบบราง ชูนวัตกรรม 3 ระดับ เพื่อให้วงการเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยมาทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อกันได้ ทั้งระบบใหม่ และต่อยอดระบบเก่า รวมไปถึงซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ที่ช่วยในการควบคุม และมอนิเตอร์ระบบไฟฟ้าได้ทั้งระบบ
พร้อมการนำเสนอศักยภาพอีกระดับในการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทั้งหมดในภาพรวม ด้วยระบบการดำเนินงานส่วนกลางที่สามารถบริหารจัดการระบบต่างๆ ได้ในจุดเดียว
รวมไปถึงระบบสำรองไฟยุคใหม่ ที่ง่ายในการเชื่อมต่อลดเวลาการติดตั้ง สร้างความต่อเนื่องให้ระบบพลังงานอันเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าระบบราง และเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมาย
Schneider Electric โชวนวัตกรรมจัดการพลังงานรถไฟฟ้าระบบราง
มร.มาร์ค เพลิทิเยร์ ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย กล่าวว่า EcoStruxure ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์มด้าน IoT โดยใช้นวัตกรรมการเชื่อมต่อ และรับ-ส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อประสิทธิภาพด้านบริหารจัดการพลังงานและความยั่งยืนสูงสุด ด้วยนวัตกรรมใน 3 ระดับ
ตั้งแต่การเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ การควบคุมพร้อมมอนิเตอร์ที่อุปกรณ์ปลายทาง และซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ ทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่โดดเด่นไม่เหมือนใครคือสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเดิม และเทคโนโลยีใหม่ของค่ายใดก็ได้
ขนโซลูชั่น EcoStruxure รวมงาน RAIL Asia 2019
ซึ่งในงาน RAIL Asia 2019 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้นำเทคโนโลยีไฮไลท์ภายใต้ EcoStruxure มาแสดงถึงศักยภาพด้านดิจิทัลมากมาย อาทิ
Wonderware System Platform ระบบดำเนินงานแบบรวมศูนย์ ช่วยในการควบคุม มอนิเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จากอุปกรณ์ทั้งระบบได้ในแบบเรียลไทม์ ให้ความสะดวก และป้องกันการผิดพลาดในการดำเนินงาน โดยใช้ผู้ดูแลเพียงไม่กี่คนก็ดูแลได้ทุกโครงข่ายของระบบไฟฟ้า
Easy UPS 3S ถูกออกแบบให้ติดตั้งสะดวก รูปลักษณ์ทันสมัย ขนาดกระทัดรัดให้ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ถอดเปลี่ยนหรือปรับเพิ่มแบตเตอรี่ได้รวดเร็ว มีให้เลือกตั้งแต่ 10 – 40 kVA ช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความเสถียรและสร้างความต่อเนื่องของระบบ
Modicon M580 ePAC (Ethernet Programmable Automation Controller) คอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูงรับ/ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อไปยังศูนย์ควบคุมในแบบเรียลไทม์ มาพร้อมฟังก์ชั่น Hot Standby (HSBY) หรือฟังก์ชั่นระบบสำรองฉุกเฉินในกรณีคอนโทรลเลอร์ตัวหลักเกิดปัญหา
ระบบสำรองสามารถทำงานแทนได้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังมีอีเธอร์เน็ตและระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cyber Security) ฝังอยู่ในตัว นับเป็นคอนโทรลเลอร์ตัวแรกที่สร้างมาเพื่อรองรับการใช้งานการเชื่อมต่อ IoT
ตู้จ่ายไฟ Prisma เป็นตู้ไฟที่มีความง่ายในการประกอบติดตั้ง ทนทานต่อแรงดันไฟฟ้าได้ดี ได้รับมาตรฐาน IEC 61439 – 1 และ 2 ซึ่งเป็นข้อกำหนดใหม่สำหรับการประกอบตู้คอนโทรลเกียร์ (controlgear)
และตู้สวิตช์เกียร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low-voltage switchgear) นอกจากนี้ Prisma ยังสามารถทนกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 4,000 แอมป์
Smart Panel ปรับเปลี่ยนตู้จ่ายไฟฟ้าให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น ทั้งตู้เดิมที่มีอยู่แล้ว หรือตู้ใหม่ที่ให้ประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมความสามารถในการเปิด-ปิดแบบไร้สายผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้อีกด้วย
นอกจากนี้ในงาน RAIL Asia 2019 ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ของชไนเดอร์ อิเล็คทิรค ที่น่าจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นโซลูชั่นแบบ End to End ของระบบการจัดการพลังงานที่ให้ความสามารถทั้งการมอนิเตอร์ ควบคุม และให้ประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ได้ในแบบเรียลไทม์ ให้ความเสถียรและความต่อเนื่องในการใช้งานสำหรับยุค 4.0
“การยกระดับประเทศไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบไม่ได้อยู่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้เพียงอย่างเดียว แต่เทคโนโลยีนั้นต้องมีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อีกด้วย”
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่