dtac หวัง กสทช.เยียวยาลูกค้าบนคลื่น 850 MHz และ 1800MHz ก่อนหมดสัมปทาน 15 ก.ย.ก่อนหมดสัมปทาน 15 ก.ย. 61 ย้ำต้องเท่าเทียม…!! เพื่อให้ลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้งาน…
dtac ย้ำ..กสทช. ต้องพิจารณามาตรการเยียวยาอย่างเท่าเทียม
อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค (dtac) คนใหม่ กล่าวว่า ดีแทค ยังมุ่งมั่นในการให้ความสำคัญต่อการให้บริการลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่านของระยะเวลาสัมปทาน 850MHz และ 1800MHz เดิมของดีแทคที่กำลังจะหมดลง ใน วันที่ 15 ก.ย. 61
ทั้งหมดเพื่อให้ลูกค้าของดีแทคยังสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับผลกระทบในช่วงของการเปลี่ยนการใช้งานไปยังคลื่นอื่น วันนี้เราต้องการให้ทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ทบทวนมาตราการเยียวยา
หลังจากที่เคย กสทช. ประกาศว่า ดีแทค ไม่เข้าข่าย ที่จะได้รับการเยียวยา เพราะไม่เข้าประมูลคลื่นเอง ทาง ดีแทค พิจารณาแล้วว่าการออกมาประกาศของ กสทช. นั้น ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะในอดีตมาตรการเยียวยา กสทช. ได้เคยให้สิทธิการเยียวยาแก่ คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของ True และ DPC (บริษัทในเครือ Ais)
โดยในปี 2556 คลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ของ True และ DPC (บริษัทในเครือ Ais) สิ้นสุดสัมปทาน กสทช. ได้ออกประกาศมาตรการเยียวยาฯ โดยให้ผู้ใช้บริการของ True และ DPC (บริษัทในเครือ Ais) ได้รับความคุ้มครองทั้งสิ้นเป็นระยะเวลา 1 ปีหลังจากสิ้นสุดสัมปทาน
ในช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการได้รับความคุ้มครองอยู่นั้น คสช. ได้มีคำสั่งให้ชะลอการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี โดยให้นำมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ มาใช้บังคับในระยะเวลาที่ระหว่างที่ชะลอการประมูล และเมื่อระยะเวลาที่ถูกขยายตามคำสั่ง คสช. ดังกล่าวกำลังจะสิ้นสุดลง
คสช. ก็ได้สั่งการให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการต่อไปจนกว่าการประมูลจะสิ้นสุดลง จนในที่สุดได้สิ้นสุดลงในปี 2558 เมื่อ True และ Ais ชนะการประมูล รวมระยะเวลาที่ True และ DPC ให้บริการต่อไปตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ เป็นเวลาทั้งสิ้น 2 ปี 2 เดือนหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง
โดยเมื่อคลื่นความถี่ย่าน 900MHz ของ Ais สิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2558 Ais ก็ได้เข้าสู่ประกาศมาตรการเยียวยาฯ โดยอัตโนมัติเนื่องจากยังไม่มีผู้ให้บริการรายใหม่เข้ามารับช่วงต่อคลื่นความถี่ดังกล่าว หลังจากนั้นจึงได้มีการจัดการประมูลคลื่นความถี่ขึ้น โดย True และ JAS Mobile เป็นผู้ชนะการประมูล
และเมื่อ True ได้รับใบอนุญาตแล้ว กทค. ได้มีคำสั่งให้ Ais ยุติการให้บริการในวันถัดมา Ais จึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง และศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมติ กทค. ประกอบกับ JAS Mobile ได้ทิ้งใบอนุญาต
ส่งผลให้ผู้ใช้บริการของ Ais ได้รับความคุ้มครองตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ต่อไป จนกระทั่งมีการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz อีกครั้งเสร็จสิ้นในปี 2559 และ Ais ชนะการประมูล รวมระยะเวลาที่ Ais ให้บริการต่อไปตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 เดือนหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ของ True และ DPC (บริษัทในเครือ Ais) และคลื่นความถี่ย่าน 900MHz ของ Ais จะเห็นได้ว่าผู้ใช้บริการของทั้งสองคลื่นความถี่ล้วนได้รับความคุ้มครองให้สามารถใช้บริการต่อเนื่องต่อไปได้ตามปกติ
แล้วเหตุใดผู้ใช้บริการ ดีแทค จึงไม่ควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกันกับผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการรายอื่นทั้งๆ ที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน?
หากจะมองว่าการที่ True และ DPC ได้รับความคุ้มครองตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ เพราะยังไม่มีการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz หลังสิ้นสุดสัมปทาน ทำให้ผู้ใช้บริการอาจไม่สามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่องได้นั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว
ดีแทค ยังคงให้บริการอย่างเดียวกันบนคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz เช่นเดียวกัน จึงไม่ใช่กรณีที่ผู้ใช้บริการไม่มีทางเลือกอื่นใดในการจะใช้บริการอย่างต่อเนื่องได้ แต่เมื่อผู้ใช้บริการไม่ประสงค์ที่จะย้ายค่าย ผู้ใช้บริการของ True และ DPC ก็ได้รับความคุ้มครองให้สามารถใช้บริการต่อไปได้
ผู้ใช้บริการของ ดีแทค ที่ไม่ประสงค์จะย้ายค่ายก็ควรได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมายังมีกระแสข่าวว่า ดีแทค ไม่ยอมเข้าร่วมประมูล จึงไม่ควรมีการบังคับใช้ประกาศมาตรการเยียวยาฯ กับกรณีของ ดีแทค ข้อเท็จจริงก็คือ คลื่นความถี่ที่ ดีแทค ถือครองอยู่เป็นคลื่นความถี่ย่าน 850MHz
แต่การจัดประมูลเป็นการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz ซึ่งเป็นคนละคลื่นความถี่กัน ประกอบกับที่ผ่านมามีความไม่แน่นอนในการจะนำคลื่นความถี่ใดออกประมูลหรือไม่ออกประมูลมาโดยตลอด ดีแทค จึงไม่อาจทราบได้แน่ว่าจะมีการนำคลื่นความถี่ย่าน 900MHz ออกประมูลหรือไม่อย่างไร
ดังนั้น แม้ ดีแทค จะเข้าร่วมและชนะการประมูลดังกล่าว ดีแทค อาจต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 2 ปี เพื่อเตรียมการสำหรับให้บริการบนคลื่นความถี่ใหม่ ผู้ใช้บริการของ ดีแทค จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความคุ้มครองตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ในระหว่างที่ ดีแทค ยังไม่พร้อมเริ่มให้บริการเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ การจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz ยังมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูลต้องรับผิดชอบแก้ไขปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว พร้อมทั้งติดตั้งระบบป้องกันการกวนสัญญาณทั้งหมด อีกทั้ง กสทช. ยังสงวนสิทธิ์ปรับเปลี่ยนช่วงคลื่นความถี่ได้กรณีจำเป็น ฯลฯ
ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ ทั้งหมดก่อให้เกิดต้นทุนสูงมากและไม่มีใครสามารถระบุได้แน่นอนว่าจำนวนเงินที่แท้จริงจะเป็นเท่าใด อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนหากมีการปรับเปลี่ยนช่วงคลื่นอาจทำให้ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด ความเสี่ยงดังกล่าวจึงทำให้ ดีแทค ไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้เช่นเดียวกันกับที่ไม่มีผู้ประกอบการรายใดเข้าร่วมการประมูลเช่นกัน
ดีแทค ยันไม่ได้กำไร แต่ต้องการเยียวยาเพื่อลูกค้า!!
จากรณีที่มีการกล่าวว่า ดีแทค นั้นหวังที่จะได้ใช้คลื่นฟรี หลังจากขอให้ กสทช. พิจารณาเยียวยา นั้นไม่จริง เนื่องจากตามประกาศมาตรการเยียวยา ผู้ให้บริการไม่สามารถรับลูกค้ารายใหม่เพิ่มได้ในขณะที่ยังคงต้องให้บริการอย่างต่อเนื่องและต้องรักษาคุณภาพการให้บริการให้คงเดิม
และยังมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์แจ้งระยะเวลาสิ้นสุดความคุ้มครอง ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการโอนย้ายออกจากระบบไปยังผู้ให้บริการรายอื่น และเร่งรัดการโอนย้ายผู้ใช้บริการ รับภาระค่าใช้จ่ายในการพัฒนาช่องทางและเพิ่มประสิทธิภาพในการโอนย้ายเลขหมาย
และยังได้กำหนดอีกว่าให้ผู้ให้บริการเป็น “ผู้รับชำระเงินรายได้จากการให้บริการแทนรัฐ” นั่นหมายความว่า “รายได้” ที่เกิดขึ้นในระหว่างการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองตามประกาศมาตรการเยียวยานั้นจะตกเป็นของรัฐ ทั้งหมด โดยผู้ให้บริการเป็นเพียงผู้รับรายได้แทนรัฐเท่านั้น
ซึ่งที่ทางดีแทคจะได้เมื่อได้รับรายได้มา ซึ่งผู้ให้บริการทำได้เพียงหักต้นทุนค่าใช้จ่าย และนำส่วนที่เหลือส่งเข้ารัฐเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป ดังนั้นจึงไม่เป็นความจริงที่ว่า ดีแทค จะแสวงหาผลประโยชน์จากมาตรการเยียวยา และได้ใช้คลื่นฟรี ๆ จึงไม่จริง
ในทางตรงกันข้าม การคุ้มครองตามมาตรการเยียวยาเป็นไปเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ ไม่ประสบภาวะ “ซิมดับ” และสามารถใช้บริการต่อเนื่องต่อไปได้เท่านั้น
dtac ยัน ทุกอย่างต้องใช้เวลา
อเล็กซานดรา ไรช์ กล่าวเสริมว่า มาตราการการเยียวยา สำหรับ ดีแทค ถือว่าสำคัญมาก เพราะหมายถึงลูกค้า จะได้รับผลกระทบ หากไม่ได้รับการเยียวยา เราต้องการทำให้ลูกค้ากว่า 4 แสนราย ใช้งานได้อยู่เหมือนเดิม ก่อนจะย้าย จาก dtac ไป dtn
โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด ลูกค้าที่เหลืออยู่ในระบบสัมปทานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มใช้ผู้สูงอายุ และใช้มือถือรุ่นเก่า อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลด้วย ที่ผ่านมา ดีแทค ได้พยายามติดต่อกับลูกค้ากลุ่มนี้ เพื่อให้ย้ายโครงข่ายเก่ามาบนโครงข่ายใหม่ ด้วยการทำโปรโมชั่น เช่น แจกเครื่อง เป็นต้น
นอกจากนี้ 850MHz กับ 900MHz นั้นเป็นคนละคลื่นกันด้วย ทำให้ ดีแทค ต้องใช้เวลามากกว่าเดิม ในการย้ายผู้ใช้ ซึ่งเป้นส่วนหนึ่งของเหตุผลว่าทำไม ดีแทค จึงไม่ได้เข้าประมูลคลื่น 900MHz เพราะหากประมูลมา ก็ต้องใช้เวลาในการติดตั้งโครงข่ายใหม่ เกือบ 2 ปี
และการมีเงื่อนไขที่ระบุว่า ผู้ที่ชนะ จะต้องลงระบบในการกันคลื่นรบกวนไม่ให้ไปรบกวนคลื่นอื่น ๆ อีกทั้ง การที่ระบุว่า กสทช. สามารถปรับให้ผู้ชนะไปใช้ช่วงคลื่นอื่นๆ ได้ ตามความเหมาะสม หากมีความจำเป็น ก็ไม่ทำให้เราไม่เห็นว่ากฏเกณฑ์ดังกล่าวมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย และไม่เอื้อให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจได้ดี
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านนี้ ทำให้ ดีแทค มีเป้าหมายในการที่จะยกระดับงานบริการของ ดีแทค ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยเราเตรียมยกระดับงานบริการของดีแทคใหม่ การเดินหน้าให้พนักงาน ดีแทค มีความมุ่งมั่นมากกว่าเดิม โดย ดีแทค มีแผนที่จะตั้งทีมงานพิเศษมาเพื่อรับผิดชอบงานเรื่องผู้ใช้บริการเพื่อส่งบริการได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่